การเสริมสร้างทักษะเมตาคอกนิชันด้วยคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนร่วมกันที่ใช้เทคนิคการระดมสมองและเทคนิคการโต้แย้งในการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานที่ใช้คำถามเชิงกลยุทธ์เมตาคอกนิชันสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบแผนและพัฒนาการทักษะเมตาคอกนิชันระหว่าง การเรียนด้วย CSCL ที่ใช้เทคนิคการระดมสมองและเทคนิคการโต้แย้งในการเรียนแบบโครงงาน เป็นฐานที่ใช้คำถามเชิงกลยุทธ์เมตาคอกนิชัน กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ แบบโครงงานเป็นฐานที่ใช้เทคนิคการระดมสมองและเทคนิคการโต้แย้ง 2) เครื่องมือ CSCL ได้แก่เครื่องมือระดมสมองและโต้แย้งอิเล็กทรอนิกส์ 3 ) คำถามเชิงกลยุทธ์เมตาคอกนิชัน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ Independent t-test และ Pair sample t-test บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อนำเสนอแบบแผนและพัฒนาการทักษะเมตาคอกนิชันระหว่าง การเรียนด้วย CSCL ด้วยเทคนิคที่แตกต่างกันและการประยุกต์ใช้ CSCL ด้วยเทคนิคที่แตกต่างกันในแต่ละขั้นระหว่างการเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน ผลการวิจัยมีดังนี้
นักเรียนที่เรียนด้วย CSCL ด้วยเทคนิคการระดมสมองและเทคนิคการโต้แย้งในการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานที่ใช้คำถามเชิงกลยุทธ์เมตาคอกนิชัน มีรูปแบบของการพัฒนา เมตาคอกนิชันไม่คงที่ในระหว่าง 6 ขั้น ของการเรียนแบบโครงงานเป็นฐานที่ใช้คำถามเชิงกลยุทธ์ เมตาคอกนิชัน
ABSTRACT
The purposes of this research were to study pattern and to enlarge metacognitive skill between the study using CSCL with brainstorming and argumentative technique in project-based learning using strategic metacognition questions. The subjects were 62 upper-secondary grade 12th students. The research instruments were consisted of 1) brainstorming and argumentative techniques in project-based lesson plans, 2) CSCL tools (brainstorming tool and electronic argumentative tool), and 3) strategic metacognitive questions. Qualitative data were analyzed by using content-analysis technique. Content analysis, Independent t-test and pair sample t-test were used to analyze the results. This article aims to (1) propose the patterns and develop metacognitive skills while using CSCL with different techniques and (2) apply CSCL with different techniques in each step of project-based learning. The findings of this research were as follows:
The CSCL with brainstorming and argumentative technique in project-based learning using strategic metacognition questions group had no consistency patterns of metacognition development during six steps in project-based learning using strategic metacognition questions.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา