การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

Main Article Content

ดาวรถา วีระพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกสุ่มแบบง่าย โดยวิธีการจับสลากจากนักศึกษาหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่ลงทะเบียนเรียนกับผู้วิจัยในภาคการศึกษา 2/2557 ได้มาจำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิจัย   ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความแตกต่าง t-test ผลการวิจัยพบว่า

           1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ( \bar{X}=4.01, S.D.= 0.65)

           2. ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาหลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 78.66  ของคะแนนเต็มสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม

           3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          4. ความพึงพอใจของนักศึกษาหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสอน เรื่อง พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (\bar{X} =4.23,S.D = 0.62)

ABSTRACT

       The purposes of this research were 1) to develop the Computer Assisted Instruction on computer crime Act (b.e.2007) 2) Study achievement of students after with CAI subject to the Computer crime Act (b.e.2007) as the criterion of 75 percent 3) to compare the student’s achievement scores earned the pre-test and post-test by CAI in the course. And 4) to study the student satisfaction in the CAI on computer crime Act (b.e.2007). The sample used in this research used a Simple random Sampling by lottery from students enrolled in Computer Science and information technology the second semester of the 2014 academic year of 30 people. The research instruments consisted of CAI on computer crime Act (b.e.2007), an achievement test, after learning their satisfaction with CAI. The statistical analysis included mean, standard deviation and Statistics t – test.

            The results of the research indicated the following:

  1. The quality of the Computer-assisted Instruction on the Computer Crime Act B.E. 2550 quality the good level (Mean equals to 4.01 and Standard Deviation equals to 0.65).
  2. Achievement of students after class average of 78.66 percentage points higher than the threshold of 75 percent full.
  3. The posttest mean was significantly higher than the pretest mean at .05 level

The students’ satisfaction toward the Computer-assisted Instruction was at the highest level. (Mean equals to 4.23 And Standard Deviation equals to 0.62).

Article Details

Section
Research Article