การสร้างความเข้มแข็งของทุนมนุษย์ในการจัดการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน STRENGTHENING HUMAN CAPITAL FOR TOURISM MANAGEMENT IN THE MIDDLE NORTHEAST THAILAND TO ASEAN ECONOMIC COMMUNITY-AEC

Main Article Content

ชัชจริยา ใบลี
ประกอบ ผลงาม
อรทัย จิตไธสง

Abstract

บทคัดย่อ

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาข้อมูลทั่วไปของกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา และศักยภาพทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยว 2) เพื่อพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยว เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบผสม โดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้การวิจัยเชิงสำรวจ ส่วนวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มเป้าหมาย  และการศึกษาดูงาน Best Practice  ผลการศึกษา พบว่า ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี  ในด้านสภาพปัจจุบันของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ส่วนใหญ่ ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาการท่องเที่ยวในด้านการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์ด้านท่องเที่ยวอย่างจริงจังและต่อเนื่อง ในด้านปัญหาของผู้ประกอบการท่องเที่ยว ค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมาก ในด้านการพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ด้านการท่องเที่ยว ได้มาตรฐานงานต้อนรับส่วนหน้าของกลุ่ม 4 จังหวัด ได้ตัวบ่งชี้มาตรฐานการพัฒนาบุคลากรด้านการโรงแรมให้เป็นไปตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวแห่งอาเซียน (MRA) ของกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ในด้าน Hotel Services คือ  Front office: receptionists  และการไปศึกษาดูงาน Best Practice  

 

ABSTRACT

This research aimed to 1) study general information of tourism entrepreneurs in four middle northeast provinces; Khon Kaen, Mahasarakham, Roi Et, and Kalasin, 2) develop the human capital potentials in tourism fields. This participatory action research used mixed method. The research processes comprised, a quantitative method using a survey study and qualitative method using an in-depth interview, a focus group discussions, including a best practice study visit. The study found that most of tourism entrepreneurs were women, and most of them hold a bachelor degree. For the current condition, the entrepreneurs wanted the government to solve tourism problems in the area of public relations by creating good image of middle northeast tourism seriously and continuously. For the problems analysis of the tourism entrepreneurs were holistically rated at the high level. For developing the tourism human capital potentials, the study proposed the standard criteria and indicators for the hotel front office works. Those criteria and indicators were entitled as the Mutual Recognition Arrangements : MRA for the hotel services in the four provinces and the researchers had organized a best practice study visit for the entrepreneurs. 

Article Details

Section
Research Article