ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 2 THE ADMINISTRATOR LEADERSHIP AFFECTING TO TEACHER SATISFACTION IN SCHOOL UNDER THE PRACHINBURI PRIMARY EDUCATION SE

Main Article Content

สกล พันธมาศ
ชัยพจน์ รักงาม
สมุทร ชำนาญ

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 278 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าของ ลิเคอร์ท ( Likert’s Five Rating scale) มีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของ เพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

          ผลการวิจัย พบว่า

          1.ภาวะผู้นำของผู้บริหารในโรงเรียนสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 ลำดับได้แก่ การให้รางวัลตามสถานการณ์  การสร้างแรงดลใจ   และ ความเสน่หา   

          2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 อยู่ในระดับมากทั้งหมดทุกด้าน โดยมีลำดับคะแนนเฉลี่ยจากมากไปน้อย 3 อันดับได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านนโยบายและแผนการบริหารงาน และด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ  

          3. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 โดยรวมมีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า การกระตุ้นการใช้ปัญญา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 อยู่ในระดับ สูงมาก รองลงมาคือ การมุ่งสัมพันธ์เป็นรายบุคคล การสร้างแรงดลใจ ความเสน่หา การให้รางวัลตามสถานการณ์ การบริหารแบบวางเฉยเชิงรุก อยู่ในระดับ ค่อนข้างสูง การบริหารแบบวางเฉยเชิงรับมีความสัมพันธ์ อยู่ในระดับ ค่อนข้างต่ำ และการบริหารแบบตามสบายมีความสัมพันธ์ อยู่ในระดับ ต่ำ

          4. ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การกระตุ้นการใช้ปัญญา การมุ่งสัมพันธ์เป็นรายบุคคล การบริหารแบบตามสบาย การสร้างแรงดลใจ การบริหารแบบวางเฉยเชิงรับ การให้รางวัลตามสถานการณ์ สามารถพยากรณ์ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงค่าความแปรปรวนของตัวแปรความพึงพอใจร้อยละ 76.50 รูปสมการคะแนนดิบดังนี้ 

\hat{Y}  =  .560 +1.97(X8)  +.208(X7)+.061(X4)  +.181(X6)+.081(X3)+.092(X1)

 

  ABSTRACT

The objectives of this research were to study the relationship between leadership of school administrators and teachers satisfaction under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2. The sample used in the study consisted of 278 teachers working in the school under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2. The instruments used for the data collecting applied Likert 5 levels- rating- scale questionnaires. The test’s reliability is 0.98. The statistics utilized in analyzing the data were mean, standard deviation Pearson’s Product Moment Correlation coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results of the study were found as follows:

          1. The administrators’ behavior of school under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2 was found on high level and the contingent reward was rated at high level.

          2. The teacher job satisfaction under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2 was found on high level in overall and each items and the achievement was rated at high level.

          3. The correlation between administrator’ leadership and the job Satisfaction of the teacher under Prachinburi Primary Educational Service Area Office 2 were at a very high level. The intellectual stimulation was at a very high level. The individualized consideration, inspiration motivation, idealized influence, contingent reward, and active management-by-exception were at a high level. The laissez-faire leadership was low level.      

          4. The administrators’ leadership as Contingent reward, passive management-by-exception, intellectual stimulation, lasses-faire leadership inspiration motivation, individualized consideration would be able to predict the job satisfaction of  the Teachers under  Prachinburi Primary Educational  Service Area Office 2 at 0.05 significant level  The  prediction ability is accounted for  about 76.50%. The form equation was as follows:

 \hat{Y}  =  .560 +1.97(X8)  +.208(X7)+.061(X4)  +.181(X6)+.081(X3)+.092(X1)

Article Details

Section
Research Article