การดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32
Main Article Content
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 2) เสนอแนวทางการปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ประธานศูนย์พัฒนาวิชาการ จำนวน 10 คน และคณะกรรมการศูนย์พัฒนาวิชาการ จำนวน 90 คน รวมทั้งหมด 100 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.965 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. การดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความคิดเห็นของประธานศูนย์พัฒนาวิชาการพบว่ากิจกรรมที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ การจัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะความสามารถทางวิชาการของนักเรียน รองลงมาคือ การประชุมวางแผนการปฏิบัติงานของศูนย์พัฒนาวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมมีการปฏิบัติน้อยที่สุดคือ การนิเทศติดตามการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ ส่วนคณะกรรมการศูนย์พัฒนาวิชาการมีความคิดเห็นว่ากิจกรรมที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ การจัดกิจกรรมการแข่งขันทักษะความสามารถทางวิชาการของนักเรียน รองลงมาคือ การนิเทศติดตามการดำเนินงานของศูนย์พัฒนาวิชาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ และที่มีการปฏิบัติการน้อยที่สุดคือ มีการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดเป้าหมายโดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแผนการทำงานให้สอดคล้องกับสถานศึกษานั้นๆ
2. สภาพการดำเนินงานเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากโดยด้านกิจกรรมของเครือข่ายมีการปฏิบัติสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความพร้อมของเครือข่าย และด้านการบริหารจัดการเครือข่าย มีการปฏิบัติน้อยที่สุด ตามลำดับ
3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนและร้อยละเกี่ยวกับความคิดเห็นของประธานศูนย์พัฒนาวิชาการในแต่ละด้านที่มีค่าความถี่มากที่สุดพบว่าคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาควรจัดงบประมาณให้แต่ศูนย์พัฒนาวิชาการ ด้านกิจกรรมของเครือข่ายคือ ควรการจัดนิทรรศการผลงานด้านวิชาการของศูนย์พัฒนาวิชาการ และด้านการบริหารจัดการเครือข่ายคือ ควรมีการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และนิเทศศูนย์พัฒนาวิชาการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง คณะกรรมการศูนย์พัฒนาวิชาการให้ความคิดเห็นที่มีความถี่มากที่สุดพบว่า ด้านความพร้อมของเครือข่ายคือ ควรมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ในการ ประสานงานโรงเรียนและศูนย์พัฒนาวิชาการ ด้านกิจกรรมของเครือข่าย ควรจัดนิทรรศการผลงานด้านวิชาการของศูนย์พัฒนาวิชาการ และด้านการบริหารจัดการเครือข่ายคือ ควรนำเทคโนโลยีและระบบสารสนเทศมาใช้ในการจัดประชุมหรืออบรมเพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง
4. ผลจากสัมภาษณ์ประธานศูนย์พัฒนาวิชาการและคณะกรรมการศูนย์พัฒนาวิชาการเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการปรับปรุงพัฒนา พบว่า ปัญหาในการดำเนินงานคือ การขาดแคลนบุคลากรขาดแผนการปฏิบัติการ ขาดการติดต่อสื่อสารและประสานงาน และขาดงบประมาณสนับสนุน
แนวทางในการปรับปรุงคือควรจัดอัตรากำลังครูและบุคลากรทางการศึกษาให้แต่ละศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน ควรมีแผนการปฏิบัติการที่ชัดเจน ควรมีเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่ออำนวยความสะดวกในการติดต่อสื่อสารและประสานงานกับศูนย์พัฒนาวิชาการ และโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้แต่ละศูนย์พัฒนาวิชาการควรจัดกิจกรรมศึกษาดูงาน ควรจัดให้มีการแข่งขันกีฬาร่วมกันและควรจัดเวทีเสวนาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาวิชาการให้กับคณะกรรมการ
The purposes of this research were 1) to study the operation network collaboration academic of secondary school, The Secondary Educational Service Area office 32, and 2) present the guidelines for more significant improvement and development of academic collaborative network operation. The population were 100 people including 10 directors of academic development centers, 90 committees of the academic development centers. The research instruments were reliability of 0.965 and the interview form. The statistics used to analyze the data were. The results of this research were as follows:
1) The directors of academic development centers pointed out most done activity was students skills academic contest, the second most done activity was meeting for academic planning, and the least done activity was supervising and following up the centers conducting. The committees of academic development center replied that most done activity was supervising and following up the centers conducting, The second was supervising and following up the centers conducting, and the least done activity was planning and target specifying with people participation.
2) The overall working state of academic cooperative network was at high level with the networks activity was done most, the secondary was the readiness of the network ,and the least done area was the network management.
3) The results of the directors of academic development centers opinions analyzing with percentage found that the most frequent answer was the educational service area office should provide budget for each center, the activity that should be done was organizing academic work exhibitions, and the management activities that should regularly ware checking, following up, evaluating, and supervising the centers. The committees of the academic development centers gave the most suggestion on the readiness of the network that is, should be the center staffs who were responsible cooperation between schools and the centers. For the activity of the network, they suggested organizing the exhibition to show the works of the centers, and they suggested employing technology and information system in meetings or trainings to reduce the time and expenditures in travelling under the area of network management.
4) The results of the interviews the directors and the committees concerning problems and guidelines for improving the centers showed the following ideas. The problems of working were lacking of personnel, action plans, communicating and cooperating, and budget. The guidelines for work for working were providing number of teachers and educational personnel for each center, having clear action plans permanent staff each center, providing budget for the centers, having study tours, sport, and seminars for strategies of driving the academic development centers work.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา