ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจในการเรียนเรื่องการวัดประเมินทางการศึกษา สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ได้รับการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม

Main Article Content

รณิดา เชยชุ่ม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการวัดประเมินทางการศึกษาของนิสิต ก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม 2) ศึกษาร้อยละคะแนนพัฒนาการเรื่องการวัดประเมินทางการศึกษาของนิสิต และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการเรียนการสอนเรื่องการวัดประเมินทางการศึกษาโดยใช้ชุดกิจกรรม โดยกลุ่มที่ศึกษาคือนิสิตการศึกษาบัณฑิต ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ศษ 451 การวัดประเมินทางการศึกษา ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 กลุ่ม B20 สาขาสังคมศึกษา จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ชุดกิจกรรมการวัดประเมินทางการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ และแบบบันทึกความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังการเรียนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม เท่ากับ 16.79 และ 26.21 ตามลำดับ เมื่อคำนวณค่าขนาดอิทธิพลเท่ากับ 3.16 แสดงให้เห็นว่าคะแนนหลังใช้ชุดกิจกรรมแตกต่างกับคะแนนก่อนใช้ชุดกิจกรรมในระดับมาก 2) นิสิตมีคะแนนพัฒนาการเรื่องการวัดประเมินทางการศึกษา อยู่ระหว่าง 3.70% ถึง 60% โดยมีคะแนนพัฒนาการเฉลี่ยเท่ากับ 32.98% และ 3) นิสิตมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอน รู้สึกสนุกกับการเรียน แม้ต้องทำงานหนัก แต่ภูมิใจในผลงานของตนเอง ชุดกิจกรรมมีประโยชน์ต่อนิสิต ทำให้ได้ความรู้ ได้ทบทวนบทเรียน จัดระบบความคิด ได้พัฒนาตนเองในหลาย ๆ ด้าน

The objectives of this research are to 1) compare students’ achievement of learning on Educational Assessment, before and after learning by using the activity package; 2) study percentage of students’ relative gain score of the educational assessment, and 3) study students’ satisfaction of learning the educational assessment by using the activity package. The group under this study is the 4th year students, from the bachelor of educations program of Srinakharinwirot University, who are registered for the ED451 Educational Assessment course in Semester 1 of the academic year 2013. The studied group comprises 29 students from Group B20 of the Social Science Field of Study. Instrument used in the experiment is the activity package for Educational Assessment while the instrument used for collecting data include the achievement test form and the learning satisfaction recording form.
The research found that 1) the average score before and after learning by using the activity package were 16.79 and 26.21 respectively with the calculated effect size of 3.16 indicating that the score after using the activity package is significantly different from score before using the activity package; 2) students’ relative gain score of the Educational Assessment are between 3.70% to 60% with the average relative gain score of 32.98%; and 3) students are satisfied with the learning and enjoy learning. Despite of hard work, students are proud of their results. The activity package is useful for students as it provides students with knowledge, facilitates them to revise lessons and organizes their thinking system, and enables students to achieve self-development in several aspects.

Article Details

Section
Research Article