สภาพการจ้างที่มีความสัมพันธ์กับการออกจากงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

อิสริยาภรณ์ วรรณะ
สุจิตรา จันทนา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจ้างที่มีความสัมพันธ์กับการออกจากงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในปี 2556 จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ ชนิดเลือกตอบ และมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และค่า F-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานส่วนใหญ่ อยู่ในช่วง 18 – 25 ปี เป็นเพศ หญิง สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ม. 6 อายุการทำงานกับบริษัทอยู่ระหว่าง 0-2 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นที่ไม่ใช่จังหวัดอยุธยา เดินทางมาทำงานโดย รถรับส่งพนักงาน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนอยู่ระหว่าง 5,000 – 15,000 บาทไม่ประกอบอาชีพเสริม และ เหตุผลที่เลือกมาทำงานกับบริษัทเพราะมีเพื่อนชักชวนมาทำ
2. การออกจากงานของพนักงาน พบว่า ส่วนใหญ่พนักงานกำลังมองหางานใหม่ที่ดีกว่า
3. ความคิดเห็นของพนักงานต่อสภาพการจ้างที่มีความสัมพันธ์กับการออกจากงานของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรมในด้านต่างๆ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ ด้านค่าตอบแทน ด้านการเลิกจ้าง ด้านกำหนดวันและเวลาทำงาน ด้านสวัสดิการ ด้านค่าจ้าง ด้านเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงาน และด้านประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือพนักงานอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน
4. เปรียบเทียบความคิดเห็นของพนักงานที่มีต่อสภาพการจ้างของบริษัทในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำแนกตามการอายุทำงาน ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน พบว่า อายุการทำงาน ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของพนักงานที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการจ้างของพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยาไม่แตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพการจ้างกับการออกจากงานพนักงานในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า สภาพการจ้างมีความสัมพันธ์กับการออกจากงานของพนักงานอยู่ในระดับต่ำ

The research has the objective of studying state of employing that related to the resign of industrial Estate the Auytthaya. The sample group was 400 employees of Industrial Estate in Ayutthaya in 2013. The research instrument use was self – reported questionnaires with 5 point rating scale statistics used in analyzing the data are percentage mean standard deviation, t-test and F-test.
The findings were as follows :
1. So regards the age of the research respondents, most of them were 18-25 years old, female, married and obtained the high school education. The respondents have worked with the company for 0-2 years. They have resided in other provinces outside and went to work with the company bus. The respondents and the average income of 5,000 – 15,000 Baht per month. They did not have any extra job. The respondents have chosen to work with the company due to the persuasion of their friends.
2. Resigning of Industrial Estate employees Look for High Reward.
3. The opinions of the employees on the employment of the Estate in general medium level and could be arranged based on the priority as follows : Other payment, dismissal of employment, working schedule, welfares, salary, employment or working conditions and other benefits of employers and employees related to the employment or working.
4. The comparison of the employees’ opinions on the employment of Industrial Estate in terms of working tenure, educational level and average monthly income indicated that the different factors of working tenure, educational level and average monthly income led to the same opinions of employees on the employment of Industrial Estate. Therefore, this finding was not consistent with the hypothesis proposed.
5. Relation between state of Employment was low associated with Resigning.

Article Details

Section
Research Article