ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารงานกับผลสำเร็จการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

เจนจิรา ขวัญคุ้ม
อัจฉรพร เฉลิมชิต
อรัญ ซุยกระเดื่อง

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับกระบวนการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน 2) เพื่อศึกษาผลสำเร็จการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารงานกับผลสำเร็จการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน และ 4) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน จำนวน 340 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบความสัมพันธ์ ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า
1. กระบวนการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระดับกระบวนการบริหารงาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( \overline{x}=3.62, S.D.=0.72) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการวางแผน ( \overline{x}=3.65, S.D.=0.75) ด้านการอำนวยการ ( \overline{x}=3.62, S.D.=0.70) ด้านการประสานงาน (\overline{x} =3.60, S.D.=0.76) และด้านการจัดองค์การ ( \overline{x}=3.59, S.D.=0.66) ตามลำดับ
2. ผลสำเร็จการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (\overline{x} =3.86, S.D.=0.76) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการเงิน (\overline{x} =3.99, S.D.=0.75) ด้านกระบวนการธุรกิจภายใน (\overline{x} =3.91, S.D.=0.74) ด้านลูกค้า (\overline{x} =3.78, S.D.=0.82) และด้านการเรียนรู้และพัฒนา (\overline{x} =3.76, S.D.=0.74) ตามลำดับ
3. กระบวนการบริหารงานมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับผลสำเร็จการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ อยู่ในระดับปานกลาง ( \overline{x}=0.435) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ข้อเสนอแนะของสมาชิกกองทุนหมู่บ้านของธนาคารออมสิน ในเขตอำเภอหนองกุงศรี จังหวัดกาฬสินธุ์ พบว่า ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการบริหารงาน ที่มีค่าความถี่สูงสุดคือ ด้านอำนวยการ ส่วนข้อเสนอแนะที่มีค่าความถี่ต่ำสุด คือ ด้านการจัดองค์การ และข้อเสนอแนะด้านผลสำเร็จการดำเนินงานที่มีค่าความถี่สูงสุดคือ ด้านลูกค้า และส่วนข้อเสนอแนะที่มีค่าความถี่ต่ำสุด คือ ด้านการเงิน

ABSTRACT
The objectives of this research were 1) study the administrative process of community fund management of the Government Savings Bank in Nong Krungsri District, Kalasin Province, 2) explore the success in community fund management, 3) analyze the relationships of the administrative process with the success in the community fund management, and 4) find some useful suggestions for community fund management. The samples were three hundred and forty members of the community fund of the Government Savingห Bank in Nong Krungsri District, Kalasin Province. The instrument was a questionnaire with .95 reliability index. The data were analyzed by the computer program. The statistics used were mean, standard deviation, and Pearson’s Correlation Coefficient. The research findings were as follows:
1. The finding showed that the average level of the administrative process of community fund management in Nong Krungsri district, Kalasin province was high (\overline{x} =3.62, S.D.=0.72). Four high-level administrations of the community fund were planning ( \overline{x}=3.65, S.D.=0.75), direction (\overline{x} =3.62, S.D.=0.70), coordination (\overline{x} =3.60, S.D.=0.76) and organization (\overline{x} =3.59, S.D.=0.66) respectively.
2. The finding showed that the average level of the success in the community fund management in Nong Krungsri district, Kalasin province was high ( \overline{x}=3.86, S.D.=0.76). Four high-level successes in the community fund management were finance (\overline{x} =3.99, S.D.=0.75), business process in organization (\overline{x} =3.91, S.D.=0.74), customer (\overline{x} =3.78, S.D.=0.82) and learning and development ( \overline{x}=3.76, S.D.=0.74) respectively.
3. The finding indicated that the administrative process significantly affected the success in the community fund management at the .05 level. The relationship of the process with the success was moderate ( \overline{x}= 0.435).
4. Regarding suggestions, they are concluded that the most frequency of the suggestions for administrative process is direction. On the other hand, the least frequency of the suggestions is organization. The most frequency of the suggestions for the success is customers, whereas, the least frequency of the suggestions is finance.

Article Details

Section
Research Article