การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้สื่อประสมกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

Main Article Content

ณัชพร จารุอินทร์
บุญเรือง ศรีเหรัญ
ชาตรี เกิดธรรม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อประสม เรื่อง การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในการเขียนสะกดคำ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนโดยใช้สื่อประสมประชากรที่ใช้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสระบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 10 โรงเรียน รวมจำนวนนักเรียน 415 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ เป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาล 2 วัดศรีบุรีรตนาราม จำนวน 2 ห้องเรียน จำนวน 60 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มและใช้การสุ่มอย่างง่าย เพื่อกำหนดกำหนดเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน 9 ชั่วโมง 2) สื่อประสมประกอบด้วย บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เนื้อหา แบบฝึกหัด เรื่อง การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำ จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ คำที่ประสมด้วยสระอัว สระเอีย และสระเอือ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่น 0.76 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.20-0.60 และมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.33-0.47 และ 4) แบบประเมินคุณภาพสื่อประสม สถิติที่ใช้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย 1) สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ 2) สถิติเพื่อการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางแบบวัดซ้ำ (Repeated measure two ways ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อประสม เรื่อง การพัฒนาความสามารถการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.26/82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วย สื่อประสมสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ไม่ได้เรียนด้วยสื่อประสมและมีพัฒนาการ ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นไปในทางที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ

The purposes of this research were: 1) to develop the writing spelling of word ability for Prathomsuksa 1 students by using multimedia to meet the efficiency of 80/80 and 2) to Develop the learning achievement in Thai language for Prathomsuksa 1 students by using multimedia. The population used for the study were Prathomsuksa 1 students in the network of Muang Saraburi Municipal School, Department of Saraburi Municipality Education, in the second semester of the academic year 2013, consisting of 2 classes with 60 students, obtained by cluster random sampling. By using simple random sampling, the subjects were divided into experimental and control group. The instruments used in the study were: 1) the learning plan in Thai language consisting or 3 plans and 9 periods, 2) the reading aloud in Thai language multimedia with computer assisted instruction for Prathomsuksa 1 students. 3) the learning achievement test in Thai language with 3 multiple choices, the alpha coeffcient equals to 0.76, the discrimination value between 033 – 0.47 and difficulty value between 0.20 – 0.60, 4) the qualitative evaluation form for multimedia. The statistics used for analysis were mean, standard deviation, percentage, and repeated measure two ways ANOVA.
The results were as follows:
1) The efficiency of the writing spelling of word ability in Thai language multimedia for Prathomsuksa 1 students was 85.26/82.33 which met the determined criteria of 80/80.
2) The learning achievement of the students learned by using the writing spelling of word in Thai language multimedia for Prathomsuksa 1 students was higher than those who did not, and the development of the student achievement was increased throughout the experiment.

Article Details

Section
Research Article