การวิเคราะห์องค์ประกอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 34 (เชียงใหม่-แม่ฮ่องสอน) ปีการศึกษา 2555 จำนวน 400 คน จากสถานศึกษาทั้ง 41 แห่ง ที่ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นแบบมาตราส่วนประมาณส่วนค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ด้านความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .8902 ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory Factor Analysis) สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลัก (Principal Component Analysis: PCA) แล้วหมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax)
ผลการวิจัยพบว่า ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจมีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเป็นบวก ตั้งแต่ 0.409-0.952 รวม 23 ตัวบ่งชี้ คือ องค์ประกอบที่ 1 ด้านความเข้าใจระดับตัวอักษร มี 7 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ 2 ด้านความเข้าใจระดับตีความ มี 9 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบที่ 3 ด้านความเข้าใจระดับวิเคราะห์วิจารณ์ มี 7 ตัวบ่งชี้ โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ เท่ากับ 1255.95 ที่องศาอิสระ (df) 677 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ เท่ากับ 1.85 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .95 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .93 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .99 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (Standardized RMR) มีค่าเท่ากับ .029 ค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ .028 ซึ่งมีค่าเข้าใกล้ศูนย์มาก แสดงว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
The objective of this research was to extract factors of English reading comprehension ability of lower secondary school students. The sample group selected through purposive selection consisted of 400 English teachers under The Secondary Educational Service Area Office 34 during the second semester of academic year 2012. The research instrument was a five-rating scale questionnaire of 23 items for 3 aspects of English reading comprehension ability. The reliability of the questionnaire totalled .8902. Data collected were statistically analyzed by an exploratory factor analysis (EFA) including the process of factor extraction and factor rotation by means of Varimax method.
The finding of this research revealed that English reading comprehension ability consisted of 3 components with 23 indicators weighing 0.409-0.952. The three main components comprised literal, interpretative and critical comprehension. Those three components comprised 7, 9 and 7 indicators, respectively. The structural model was fit to the empirical data with goodness of fit statistics; Chi-square = 1255.95, df =677, Relative Chi-square=1.85, GFI= .95, AGFI= .93, CFI =.99, Standardized RMR =.029 and RMSEA =.028.
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา