รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน
Main Article Content
Abstract
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนา ทั้งในระดับองค์กร ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรปกครองที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้มากที่สุด เนื่องจากเป็นองค์กรปกครองที่ได้รับการกระจายอำนาจจากรัฐบาลกลางให้ประชาชนมีอำนาจในการปกครองตนเอง ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเปรียบเสมือนรัฐบาลของท้องถิ่น มีอำนาจในการบริหารพัฒนาท้องถิ่นที่มีความเป็นอิสระ และสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในพื้นที่ได้มากที่สุด รูปแบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่นของประชาชน เป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาผ่านท้องถิ่นเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบริหารและพัฒนาท้องถิ่นสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนมากที่สุด ด้วยการแสดงความคิดเห็น การเสนอแนะหรือการเสนอความต้องการ การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในรูปของการใช้สิทธิ์เลือกทางเลือกเพื่อให้เป็นฉันทามติ การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลให้การดำเนินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผ่านกระบวนการนโยบายสาธารณะที่สำคัญ 3 ส่วนหลัก คือ (1) การมีส่วนร่วมในการผลักดันนโยบาย (2) การติดตามและประเมินผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ (3) การสะท้อนกลับถึงค่านิยมต่อของประชาชน นโยบาย เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงนโยบายให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
Public Participation in local government is very significant for development in every stage which is community organizations both locally and nationally. Especially local government organization which held that public can be involved as much as possible. It has been decentralized from the central government to public govern themselves which making organizations similar to local government. They have authority in local development administration with independence and can meet local people requirements as possible. Model of public participation in local government is participation in development by local. Which local government admins and manages for people requirements as possible. They give an opinion, suggestion and requirements also participation in decision making which are election practical participation and evaluation. The process of local government pass public policy 3 factor. (1) Participation in support public policy (2) Following and evaluation and policy implementation. (3) Feedback of people popularity for adjust policy in the future
Article Details
บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ทรรศนะและข้อคิดเห็นในบทความวารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มิใช่เป็นทรรศนะและความคิดของผู้จัดทำจึงมิใช่ความรับผิดชอบของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มา