การปฏิรูปนโยบายอุตสาหกรรมในประเทศไทย : สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็น

Main Article Content

นพมาศ ช่วยนุกูล
สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์
สมชาย หาญหิรัญ

Abstract

การวิจัยการปฏิรูปนโยบายอุตสาหกรรมในประเทศไทย : สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็น มีวัตถุประสงค์ คือ 1) ศึกษาสถานภาพปัจจุบันของนโยบายอุตสาหกรรมไทย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่จริงกับสิ่งที่ควรจะเป็นของนโยบายของอุตสาหกรรม  3) เสนอแนวทางในการปฏิรูปนโยบายอุตสาหกรรมเพื่อลดความแตกต่างระหว่างสิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นที่เหมาะสมต่อประเทศไทย  รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ  โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลเอกสารราชการและนโยบายอุตสาหกรรม พร้อมสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสูงที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายอุตสาหกรรมของประเทศ จำนวน 14 ท่าน เป็นข้อมูลเชิงคุณภาพ และในเชิงปริมาณทดสอบยืนยันข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ด้านนโยบายและแผนภาครัฐ และเอกชน จำนวน 191 ราย แนวทางในการปฏิรูปนโยบายได้นำไปตรวจสอบยืนยันกับผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานด้านนโยบายอุตสาหกรรม จำนวน 3 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายอุตสาหกรรมของไทยในปัจจุบันเน้นการสร้างความเจริญเติบโตและส่งเสริมการส่งออกเป็นหลัก ทำให้ต้องพึ่งพาต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นและความสามารถในการแข่งขันมีแนวโน้มลดลง โดยข้อมูลบ่งชี้ให้เห็นถึงนโยบายที่เหมาะสมกับไทยคือนโยบายที่ทำให้แข่งขันได้และพึ่งพาตนเองได้  2) สิ่งที่เป็นอยู่กับสิ่งที่ควรจะเป็นของนโยบายอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มี 6 ด้าน คือ การพัฒนามาตรฐานและสร้างตราสินค้า การพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ การพัฒนาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาคน การพัฒนากลไก กฎระเบียบ ข่าวสารและการประชาสัมพันธ์  และการบริหารจัดการ  3) แนวทางในการปฏิรูปนโยบายอุตสาหกรรมที่ควรเป็น ได้แก่ ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการทำการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง  ส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศ  ส่งเสริมการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม  พัฒนาคนในทุกระดับ  พัฒนาระบบข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจต่อประชาชนและผู้ประกอบการ  และส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานทดแทน

 The research of industrial policy reform in Thailand: Reality and practicality, has the objectives of 1) to study current situations of Thai industrial policy 2) to compare difference between what actually existed and what should be practically enforced in the policy 3) to purport the industrial policy guidelines appropriate to Thai situations.  This research combined quantitative and qualitative research methodology. The data collected was the official prints and industrial policy documents plus a qualitative in-depth interviews of 14 chief executives on national industrial policy formulation. To verify data consistency, the questionnaire was implemented to 191 policy and public sector plan officers in both public and private sectors. The guidelines for policy reform were reexamined and confirmed by three specialists in industrial policy division. The research results indicated: 1) the existing Thailand industrial policy mainly emphasized on growth and export promotion, and this caused Thailand to rely on foreign countries and the force of competitiveness tended to decrease.  The data indicated that an appropriate policy of Thailand was to increase high competiveness  and self-dependence; 2) reality existed and practicality enforced showed statistically significance at a level at .05 on six aspects: standard development and brand creation, international economic development, environmental development, personnel development,   mechanism development, rules and regulations, news and public relations inclusive of management; 3) the guidelines verified in industrial policy reform were: promotion of technology transfer and the continuation on research and development, international investment promotion, promotion on eco-friendly manufacturing, personnel development in all levels, information system development enhancing public and entrepreneur, including manufacturing promotion and use of alternative energy.    

Article Details

Section
Research Article