ประสิทธิผลการบริหารงานระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล

Main Article Content

ศุภณัฏฐ์ สัตยาภิวัฒน์
บุญทัน ดอกไธสง
บุญเลิศ ไพรินทร์

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารระบบไกล่เกลี่ย   ข้อพิพาทของศาลยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลการบริหารระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล และ 3) เสนอแนะให้มีการปรับปรุงปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อการบริหารระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักรวมกับเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพดำเนินการโดยสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน  22 คน ที่เลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย    ผู้พิพากษา 7 ท่าน ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 1 ท่าน เจ้าหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ย 1 ท่าน พนักงานอัยการ 3 ท่าน ทนายความ 4 ท่าน พนักงานสอบสวน 2 ท่าน พนักงานปกครอง 1 ท่าน และนักวิชาการ 3 ท่าน ซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการบริหารงานไกล่เกลี่ยของศาลยุติธรรมและได้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา  การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยเครื่องมือที่เป็นแบบสอบถามกับข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนผู้มารับบริการการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่ศาลจังหวัดปทุมธานี ศาลจังหวัดธัญบุรี ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดปทุมธานี จำนวน 230 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระบบไกล่เกลี่ยข้อพาทของศาลยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล เป็นมาตรการที่เหมาะสมอย่างยิ่งกับสภาพปัญหาของศาลยุติธรรมที่มีสำนวนคดีค้างการพิจารณาเป็นจำนวนมากและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มจำนวนคดีที่ค้างการพิจารณามากขึ้นเป็นทวีคูณผลการวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้หากกลุ่มผู้มาติดต่อราชการศาลได้มีส่วนร่วมในการบริหารระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทจะมีแนวโน้มส่งผลให้การบริหารระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมตามหลักธรรมาภิบาล ที่เหมาะสมและเด่นชัดได้สูงขึ้นด้วย
2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อประสิทธิผลการบริหารระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเพื่อให้บังเกิดผลอย่างยั่งยืนได้นั้นจะเป็นได้รับการพัฒนา คือ (1) การพัฒนาระดับนโยบาย พัฒนาการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือให้มากขึ้น และการพัฒนากระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทต้องได้รับการสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นจากรัฐบาลที่เพียงพอ (2) การพัฒนาระดับอำนวยการ ด้านศักยภาพของผู้บริหารศาล ทักษะในการบริหารจัดการคดี ทักษะด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การฝึกอบรม พัฒนาหลักสูตรและการประเมินผลหลังการฝึกอบรม พัฒนาระบบการเสริมเสร้าง ขวัญกำลังใจ เพิ่มค่าตอบแทนของผู้ไกล่เกลี่ย รวมทั้งแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาระบบบริหารและจัดการด้านงบประมาณ โดยจำเป็นต้องมีการพัฒนาระบบงบประมาณ เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพและความจำเป็นมากขึ้น (3) การพัฒนาระดับปฏิบัติการ มุ่งเน้นด้านการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 5 ประเภท ได้แก่ ผู้พิพากษา ผู้ไกล่เกลี่ยที่เป็นบุคคลภายนอก เจ้าหน้าที่ศาล ทนายความและคู่ความ
3. ข้อเสนอแนะในการบริหารระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบอย่างครอบคลุม เพื่อให้เกิดผลสำเร็จได้ ประกอบด้วย การดำเนินการที่สำคัญ 3 ระดับ คือ (1) ระดับนโยบาย ปัจจัยความสำเร็จ จำเป็นต้องพัฒนาองค์ประกอบพื้นฐาน   ที่สำคัญ คือ การสนับสนุนทรัพยากรจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ การกำหนดระเบียบและข้อกฎหมายให้เหมาะสมยิ่งขึ้น (2) ระดับอำนวยการ จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องให้มีความรู้การไกล่เกลี่ยให้มากขึ้น และสร้างเสริมทัศนคติในเชิงบวกต่อระบบการไกล่เกลี่ยให้แก่บุคลากรเหล่านี้ (3) ระดับปฏิบัติการ ควรมุ่งเน้นด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบไกล่เกลี่ยจะต้องเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรมในระดับสูง ต้องมีความรู้ ความสามารถ จนได้รับศรัทธาและไว้วางใจจากคู่กรณีทุกฝ่าย และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของแต่ละศาล ต้องมีทัศนคติและมีความมั่นใจในประสิทธิผลของระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศาลยุติธรรมโดยรวม

 The objectives of this research are 1) to study the effectiveness of mediation management systems of the court of justice based on principles of good governance 2) to study the factors influencing the effectiveness of the mediation management systems of the court of justice based on principles of good governance, and 3) to propose the suggestions for improvement the factors directly influencing the administration of the court justice based on principles of good governance. This study employs both qualitative and quantitative research techniques. Qualitative data is collected by an interview from the court of justice mediators of 7 judges, 1 conflict mediator, 1 mediator officer, 3 attorney, 4 lawyers, 3 investigators polices, 1 administrative officer, and 3 academic conciliate.  Quantitative data is collected by a questionnaire administered to 230 persons who experience the mediation services from the court in Pathumthani Province, Juvenile and Family Court of Justice in Pathumthani Province. The collected data is analyzed using descriptive statistic, frequency, percentage, mean, and standard deviation.
The results show that:
1. Mediation systems management of the court based on good governance was especially suitable for solving the judiciary difficulties because there are many increasingly cases pending consideration. Therefore, if the people become part of an administration of the court system, it will help resolve disputes and that will make the principles of good governance become appropriate and obvious. 
2. There are factors directly influencing on the effectiveness of administrative mediation and need improvement: (1) policy development as well as public relations concerned the process of mediation published to the target group that needs help, and the development of mediation process must be gained sufficient support from the government; (2) director development included administrative potential, cases management skills, modern technology skills, performance management and training, curriculum development and evaluation after training, development of extra fiber deserted morale, increase in the remuneration of the mediator as well as money, and non-monetary as well as an appropriate development approach, manage budget to meet the need, and (3) operation development: 1) Judge 2) the mediator is a third party 3) the court 4) lawyer 5) parties.
3. The suggestions on administration of justice system arbitrate disputes covered: (1) policies level; the primary components need to be improved including an important support from the government, the appropriate regulations and laws, (2) personnel level; more  knowledge should provide to mediator, and strengthen positive attitudes towards mediation system to staff, (3) operation level; person associated with the mediation should have a high moral, knowledge and ability, so that all parties will rely on them. And the dispute resolution center court staff should have a positive attitude towards and confidence in the effectiveness of the mediation of the judiciary as a whole.

Article Details

Section
Research Article