สัมฤทธิผลในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

Main Article Content

วิเชียร เส้นทอง
บุญทัน ดอกไธสง
บุญเรือง ศรีเหรัญ
วิทยา เจียรพันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สัมฤทธิผลในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ  2) ปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิผลในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยฯ และ 3) เพื่อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยฯ ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพผลการวิจัย พบว่า
1. สัมฤทธิผลในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติทั้ง 5 ด้าน โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  อันดับที่มีระดับสัมฤทธิผลของ  การบริหารจากมากไปน้อย ได้แก่ 1) ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์  2) ด้านการปฏิบัติธรรม 3) ด้านการเผยแผ่ธรรม 4) ด้านการปกครองคณะสงฆ์และ 5) ด้านการบูรณปฏิสังขรณ์วัดหรือศาสนสถาน
2. ปัจจัยที่มีผลต่อสัมฤทธิผลในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกอบด้วย ด้านการมีแผนงาน ด้านการจัดการองค์กร       และด้านการให้ความร่วมมือ โดยปัจจัยทั้ง 3 ร่วมกันมีผลต่อความผันแปรของสัมฤทธิผลใน   การบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ร้อยละ4.8  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 
3. ถ้าจะทำให้สัมฤทธิผลในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทยของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีประสิทธิผล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลในการบริหารจัดการคณะสงฆ์ไทย ประกอบด้วย ด้านการมีแผนงาน ด้านการให้ความร่วมมือ สำหรับด้านงบประมาณที่ไม่เพียงพอและทั่วถึงสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรขอความร่วมมือโดยการทำบันทึกข้อตกลงเพื่อความเข้าใจร่วมกันกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาประจำจังหวัด

The objectives of this research were to 1) study the Thai Sangha achievement in Management of the National Office of Buddhism 2) study the factors affecting Thai Sangha achievement in Management and 3) recommend strategies in managing and improving the Thai Sangha Result - Based Management using mixed research methodologies.
1) It was found that the effectiveness of Thai Sangha achievement in Management of the National Office of Buddhism was moderately on average. The results were shown in a descending order-Sangha Education’s achievement in Management, Meditation Course, propagation, Sangha Administration and Monastery’s renovation and restoration respectively.
2) The findings further revealed that the factors affecting Thai Sangha achievement in Management of the National Office of Buddhism in terms of job planning, organization management, and cooperation can hypothesize the factors affecting Thai Sangha achievement in Management of the National Office of Buddhism with a statistically significance level at 0.5.
3) The research also found that if the National Office of Buddhism increased its job planning and cooperation, it could achieve better results in managing the Thai Sangha. The National Office of Buddhism should propose its plan to the Supreme Sangha Council of Thailand. The National Office of Buddhism and should also sign an MOU with the Local Administration Organizations to acquire more budgets.

Article Details

Section
Research Article