รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของทหารกองประจำการสังกัดกองทัพบก

Main Article Content

ฐิติวัจน์ พัฒน์เจริญ
สุรพล พุฒคำ
บุญเรือง ศรีเหรัญ

Abstract

การวิจัยเรื่อง รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก เป็นงานวิจัยเชิงแบบผสานวิธี (Mixed Methodology) มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling)ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 167 นาย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ตามองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตใน 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ปัจจัยการพึ่งตนเองที่มีผลต่อการดำรงชีวิต ปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ การดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และความต้องการขั้นพื้นฐานของทหารกองประจำการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก โดยการสนทนากลุ่มจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 14 ท่าน เพื่อกำหนดรูปแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ฐานนิยม และ 3) เพื่อประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก โดยวิธีการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก ในจังหวัดลพบุรี โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ ที่ระดับค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 323 นาย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยการวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์    การวิจัย นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติของการวิเคราะห์องค์ประกอบ
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพชีวิตของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก เมื่อพิจารณาตามองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตเพื่อการกำหนดรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก ประกอบด้วย    1) ด้านการศึกษา 2) ด้านสุขภาพ 3) ด้านการมีงานทำ และ 4) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม
2. การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้ 1) การปฐมนิเทศ 2) วิธีการดำเนินการฝึกอบรม              2.1 การบรรยาย 2.2 การฝึกปฏิบัติ และ 3) การประเมินผล
3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการศึกษา มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ด้านสุขภาพ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการมีงานทำ ทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก ได้มีงานทำ ร้อยละ 97 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ทหารกองประจำการ สังกัดกองทัพบก มีเจตคติต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก

 A Model of Quality of Life Development through Sufficiency Economy of the Privates in Army Mixed methodology. The purposes of this research were to 1) study quality of life of the privates in Army. The sample using simple Multi-Stage Random Sampling studies were selected 167 person of the privates in Army purposively. The instrument used in this research was a questionnaire and depth interviews. The elements of quality of life in the four elements including autonomous factors affecting survival, factor in improving the lives of army conscripts, living the philosophy of sufficiency economy, and the basic requirements of army conscripts. The data were analyzed in of statistical. 2) Development model of quality of life through sufficiency economy of the privates in Army by a group of experts of 14 persons to determine model of quality of life through sufficiency economy of the privates in Army. The instrument used in workshop manual to development model of quality of life through sufficiency economy of the privates in Army. The data were analyzed in of mode, and 3) Assessment model of quality of life through sufficiency economy. The sample using simple calculated using the formula of Taro Yamane a confidence level of 95 percent 323 person of the privates in Army purposively. The instrument used in was a questionnaire and depth interviews. The data was analyzed average. The standard deviation. And the statistical analysis of the elements.
The findings were as follow: 
1. Elements of the quality of life of private in Army include 1) education, 2) health, 3) the work done, and 4) the moral and ethical.
2. Model for improving quality of life by the philosophy of sufficiency economy of private in Army. The workshop consists of the following steps: 1) orientation 2) how to conduct training, knowledge of academic lectures to 2.1. In education. Health and Employment Practice in 2.2. The trained professional (employed) and 3) moral evaluation.
3. Assessment model for improving quality of life by the philosophy of sufficiency economy of private in Army. The overall satisfaction level is very considering the study found that the satisfaction level in health satisfaction is at the highest level. The labor force. Private in Army. has employed 97 percent of the morality and ethics private in Army.  Attitude towards the improvement of quality of life according to the philosophy of sufficiency economy at a high level.

Article Details

Section
Research Article