การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนภาษาไทยในกรุงฮานอย

Main Article Content

เฉิ่น ถิ บิ๊ก ถาว
พิทักษ์ นิลนพคุณ
ชาตรี เกิดธรรม

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนภาษาไทยในกรุงฮานอยให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักศึกษาปีที่ 2 ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และเพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ นักศึกษาที่เรียนภาษาไทยในกรุงฮานอยจำนวน 60 คน กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาที่เรียนภาษาไทยในกรุงฮานอยในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 1 ห้องเรียน 15 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทย จำนวน 3 หน่วย ประกอบด้วย 1) หน่วยที่ 1 เรื่อง อาเซียนและเอกลักษณ์ไทย หน่วยที่ 2 เทศกาลสงกรานต์ และหน่วยที่ 3 เรื่องวันลอยกระทง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาไทย 3) แบบทดสอบประจำหน่วยที่ 1- หน่วยที่ 3 และ 4) แบบวัดเจตคติของนักศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน และสถิติ E1/ E2 และค่าสถิติทดสอบ t-test (Dependent Sample)
ผลการวิจัยพบว่า

                1. ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน   จับใจความภาษาไทยสำหรับนักศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนภาษาไทยในกรุงฮานอยมีค่าเท่ากับ 81.22/80.11 เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้

                2. ผลการทดลองเมื่อกลุ่มตัวอย่างได้เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

                3. ผลการศึกษาเจคติของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาไทยสำหรับนักศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนภาษาไทยในกรุงฮานอย พบว่า นักศึกษามีเจตคติต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

                The objectives of this research were 1) to develop the Computer- Assisted Instruction for developing the Thai language reading skill for main idea of the second year students studying Thai language in Hanoi according to meet criteria of 80/80  2) to compare the Thai language reading skill for main idea of the second year students between pretest and posttest of Computer- Assisted Instruction and 3) to study the attitude of the second year students towards Computer- Assisted Instruction. The population was the students studying Thai language with 3 classes of 60 students. The sample was the students studying Thai language in Hanoi in the first semester of academic year 2013 with 1 class of 15 students with selected by cluster random sampling. The tools of this research were composed of   1) Computer- Assisted Instruction for Thai language reading skill for main idea included 3 units; unit 1 Asean and Thai identity, units 2 Songkran festival and unit 3 Loy Kratong day 2) the achievement test of Thai language reading skill for main idea 3) the test of unit 1-3 and 4) the attitude questionnaire for the second year students towards Computer-Assisted Instruction. Statistics used to analyze data were mean, standard deviation and t-test (Dependent sample) 
The research findings were as follows:

                1.The implementation of the Computer-Assisted Instruction for developing the Thai language reading skill for main idea had that efficiency of 81.22/80.11 which meet the criteria of 80/80

                2. The experimental results found that the samples who learned with Computer-Assisted Instruction had higher than in learning ability before using Computer-Assisted Instruction with statistically significant difference at a level of .05. 

                3. The attitude of the second year students towards Computer- Assisted Instruction for developing the Thai language reading skill for main idea of the second year students studying Thai language in Hanoi found that in overall was at the highest level

Article Details

Section
Research Article