การบูรณาการบริหารองค์การในสถานการณ์ตามความแตกต่างเปรียบเทียบ ระหว่างภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
ความสำคัญของสภาวะแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญจะต้องพิจารณาทำให้สามารถแก้ปัญหาของความซับซ้อนและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อม การบูรณาการ เป็นการนำหน่วยย่อยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันให้เกิดความผสมกลมกลืนเป็นองค์รวม และสามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการผนวก การประสาน การเติม การเชื่อมโยง เพื่อนำไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพร่วมกันเป็นการจัดการเป็นแนวทางการบริหารธุรกิจเอกชน ขณะที่การบริหารองค์การภาครัฐ การจัดการเกิดขึ้นในองค์การอาสาสมัคร หุ้นส่วนและธุรกิจ ส่วนการบริหารที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมของรัฐ ซึ่งปกติเกิดขึ้นในบริบทของนโยบายสาธารณะ นอกจากนั้นแล้วองค์การภาคธุรกิจเอกชนโดยทั่วไปมีเป้าหมายที่แคบกว่าการบริหารงานภาครัฐ แต่มีแรงจูงใจจากผลกำไร ด้านการบริหารภาครัฐไม่เพียงมีจุดมุ่งหมายกว้างกว่า แต่มีประเพณีว่าผู้ปฏิบัติต้องยึดถือหลักการเฉพาะ เช่น ความพร้อมรับผิดชอบต่อสาธารณะ ความเป็นธรรม และการกระทำตามกฎหมาย ความสำคัญของการบริหาร เป็นการดำเนินงานที่อาศัยการวางแผนงานที่ร่วมกันในการใช้ทรัพยากรบุคคลหรือทรัพยากรอื่นๆ ได้แก่ งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ มาบริหารจัดการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การบริหารจัดการองค์การแบบบูรณาการ เป็นการนำเอาการบริหารจัดการที่มีผ่านการคิดและวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ และการวางแผนเชิงกลยุทธ์ การนำระบบการบริหารจัดการ ที่เกี่ยวข้องภายในกรอบความคิดเชิงนโยบายการบริหาร มาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม และสามารถปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการได้ทันท่วงที สำหรับการเปรียบเทียบระหว่างทฤษฎีกับการนำไปปฏิบัติ กล่าวคือ ทฤษฎีการบริหารจัดการ เกิดจากนักวิชาการของสถาบันการศึกษาในประเทศตะวันตกได้ร่วมกันคิดและทดลองหาวิธีการบริหารจัดการองค์การให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลจนนำไปสู่ข้อสรุปนำไปสร้างเป็นกฎเกณฑ์การบริหารจัดการ ส่วนการนำแนวทางข้อสรุปกฎเกณฑ์การบริหารไปปฏิบัติในภาคสนามต้องประสบปัญหาอุปสรรคที่แตกต่างกันคือ ไม่มีทฤษฎีการบริหารจัดการใดที่สุด การบริหารจัดการขึ้นอยู่กับสภาพการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ ดังนั้นนักบริหารองค์การต้องรู้จักใช้วิธีการบูรณาการทฤษฎีการบริหารจัดการหลายๆ วิธี นำมาใช้กับองค์การให้อยู่รอดได้ ที่อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายนอกองค์การ
องค์ความรู้ ทฤษฎีการบริหารจัดการ เกิดจากนักวิชาการได้ร่วมกันคิดและทดลองหาวิธีการว่าทำอย่างไร จะได้วิธีการบริหารจัดการองค์การนำไปสู่ข้อสรุปสร้างเป็นกฎเกณฑ์การบริหารจัดการ ส่วนการนำแนวทางข้อสรุปกฎเกณฑ์การบริหารไปปฏิบัติในภาคสนาม องค์การต้องประสบปัญหาอุปสรรคที่แตกต่างกัน การบริหารจัดการขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ ดังนั้นนักบริหารองค์การต้องการบูรณาการทฤษฎีการบริหารจัดการหลายวิธี นำมาใช้กับองค์การให้อยู่รอดได้ ที่อยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่อยู่ภายนอกองค์การ
สรุปโดยย่อ การบริหารจัดการองค์การแบบบูรณาการ เป็นการนำเอาการบริหารจัดการที่มีผ่านการคิดและวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ การนำระบบการบริหารจัดการ ที่เกี่ยวข้องภายในกรอบความคิดเชิงนโยบายการบริหาร มาดำเนินการให้เกิดเป็นรูปธรรม และสามารถปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการให้องค์การอยู่รอดได้
Article Details
References
กวี รักษ์ชน. (2553). ความหมายและขอบข่ายของการศึกษาบริหารรัฐกิจ ในการบริหารรัฐกิจเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2549). การคิดเชิงบูรณาการ (Integrative Thinking). (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: ซัคเซส มีเดีย.
คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. (2021). นิยามศัพท์การบูรณาการ (Integration). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www2.si.mahidol.ac.th/km/knowledge assets/definite.
จีระ ประทีป. (2559). “หน่วยที่ 2 แนวคิดและทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์ยุคบุกเบิกและยุคคลาสสิก”. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ขอบข่ายการศึกษาและการวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จุมพล หนิมพานิช. (2553). การบริหารจัดการภาครัฐใหม่ หลักการ แนวคิด และกรณีตัวอย่างของไทย ฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
จุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ. (2560). การบูรณาการคืออะไร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/post/.
ดิเรก วรรณเศรียร. (2548). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: อัดสำเนา.
ทองหล่อ เดชไทย. (2559). การบริหารคุณภาพสู่ความเป็นเลิศ. (พิมพ์ครั้งที่ 4). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ธนชัย ยมจินดา. (2560). “หน่วยที่ 2 แนวความคิดทางการจัดการ”, ใน เอกสารการสอนชุดวิชาองค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปิยธิดา ตรีเดช, สมชาติ โตรักษา และ พีระ ครึกครื้นจิตร. (2552). หลักการบริหารจัดการ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.พี.เอ็น. การพิมพ์จำกัด.
พระครูปฐมธีรวัฒน์ (บัญชา เทียนทอง). (2563). การบูรณาการเชิงพุทธกับการบริหาร. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ. 2 (2) : 483-490.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธรรม.
ยศกร บ่มไล่. (2568). การบริหารและการจัดการองค์กรแบบบูรณาการ (The Building Capacity Organization Management). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567. แหล่งที่มา: http://thailandindustry.com/onlinemag/view2.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นามมีบุคส์ พับลิเคชั่นส์.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2556). การจัดการภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: บริษัท บพิธการพิมพ์ จำกัด.
วัชรชัย โฉมอินทร์. (2546). การบูรณาการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น : ศึกษากรณีชมรมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2548). การบริหารจัดการและการบริหารการพัฒนาขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติธรรม.
วิรัช สงวนวงศ์วาน. (2559). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด.
สถาบัน People Develop Center. (2568). การบริหารความต่อเนื่องของธุรกิจในภาคปฏิบัติ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.peopledevelop.net/17447453/.
สุมน อมรวิวัฒน์. (2544). กระบวนการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ เสนอคณะกรรมการการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Amorim, P., Gunther, H.O., and Almada-Lobo, B. (2012). “Multi-objective integration production and distribution planning of perishable product,” International Journal of Production Economic, 138 (1), 89-101.
Greenwood, John, Pyper, Robert, and Wilson, David. (2002). New public administration in Britain. London: Routledge.
Hughes, Owen E. (2012). Public Management and administration. 4th ed. New York: Palgrave Macmillan.
Owen E. Hughes. (1994). Public Management & Administration: An Introduction. New York: St Martin’s Press Inc.
Scholtes, P.R. (1998). The leader’s handoffs making thing happen, getting things done. New York: McGraw-Hill.