ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาล

Main Article Content

สุวพิชญ์ ภู่สว่าง
อภิรดี จริยารังษีโรจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาล กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนภายในกำกับดูแลโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย จำนวน 394 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริหารวิชาการ หัวหน้าแผนกอนุบาล และครูอนุบาล รวมจำนวน 863 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาล โดยทุกข้อคำถามมีค่า IOC มากกว่า 0.50 และมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.993 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (〖PNI〗_modified)
          ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมของการบริหารวิชาการที่เสริมสร้างทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนสำหรับโรงเรียนอนุบาลมีสภาพปัจจุบันในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ในระดับมากที่สุด และมีความต้องการจำเป็น (〖PNI〗_modified) เท่ากับ 0.199 เมื่อพิจารณาการบริหารวิชาการเป็นรายด้าน พบว่าด้านการบริหารหลักสูตรมีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (〖PNI〗_modified=0.207) ลำดับถัดมาคือด้านการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ (〖PNI〗_modified=0.198) การประเมินพัฒนาการ (〖PNI〗_modified=0.197) และการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ (〖PNI〗_modified=0.193) ตามลำดับ สำหรับในภาพรวมของทักษะการคิดเชิงคำนวณ
          องค์ประกอบย่อยที่มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ การแก้ไข จุดบกพร่อง (〖PNI〗_modified= 0.207) ลำดับถัดมา คือ การแบ่งงานใหญ่เป็นงานย่อย (〖PNI〗_modified= 0.204) การพิจารณาสาระสำคัญของปัญหา (〖PNI〗_modified= 0.203) การเข้าใจการทำงานร่วมกันของระบบ (〖PNI〗_modified= 0.197) การพิจารณารูปแบบของปัญหา (〖PNI〗_modified= 0.195) การออกแบบอัลกอริทึม (〖PNI〗_modified= 0.193) และ การเข้าใจและใช้สัญลักษณ์แทนการสื่อสาร (〖PNI〗_modified= 0.191) ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ คุณาสวัสดิ์, สมเกียรติ ตุ่นแก้ว และ สุวดี อุปปินใจ. (2561). แนวทางการบริหารและการจัดการแหล่งเรียนรู้ที่ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนปิยะพรพิทยา. วารสารครุศาสตร์วิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. 3 (1).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี.

นนทบุรี: โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด.

กัญญ์วรา ปิ่นเกตุ. (2562). แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ตามแนวคิดการพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณของนักเรียน. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา. 3 (2), 21-41.

กีรติ คุวสานนท์ และ ภาวิณี โสธายะเพ็ชร. (2566). การส่งเสริมองค์ประกอบตามแนวคิดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 21 (1), 59-70.

ชนิษฐา จำเนียรสุข. (2561). การศึกษากรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพรัตน์ สังข์ทอง, ธนีนาฎ ณ สุนทร, & กาญจนา ภัทราวิวัฒน์. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ ของครูปฐมวัย โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 5 (3), 19-29.

นลิน คำแน่น. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและเกมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พุทธอักษร ศรีสด. (2563). แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยในตำบลตะเบาะ จังหวัดเพชรบูรณ์ ตามแนวคิดทักษะชีวิตประชาธิปไตย. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาณุศักร หงษ์ทอง, สุวพร เซ็มเฮง, & พรชุลี ลังกา. (2562). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในกรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการตนเอง (EECUTIVE FUNCTION: EF) ของเด็กปฐมวัย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 6 (6), 2766-2786.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542ก). การบริหารและการนิเทศการศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาระบบการพิมพ์.

เยาวพา เดชะคุปต์. (2542ข). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพมหานคร: เอพี กราฟฟิกส์ ดีไซน์.

ระวีวรรณ ทิพยานนท์. (2564). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนปฐมวัยตามแนวคิดทักษะสมองเพื่อชีวิตที่สำเร็จ. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกาล จตุพรเทียนชัย, ชลาธิป สมาหิโต, และ อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2564). ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้การคิดเชิงคำนวณที่มีต่อความสามารถด้านการคิดแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนระดับปฐมวัย. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย. 6 (2), 366-380.

ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2565). สถิติการศึกษา ประจำปี 2564. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์อักษรไทย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2561). คู่มือการใช้หลักสูตร เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://oho.ipst.ac.th/cs-curriculum-teacher-guide/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2563). กรอบการเรียนรู้และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้บูรณาการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://ipst.me/11322

สรรฐณัฐ ปัญญาเสฏโฐ. (2565). ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการส่งเสริมการคิดเชิงคำนวณ. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 5(3), 26-50.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: http://www.bopp.go.th/?page_id=878

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580). สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://nscr.nesdc.go.th/ns/

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สุพรรษา ใจอารีย์, นพรัตน์ ชัยเรือง, & บูรินทร์ภัฏ พรหมมาศ. (2561). การบริหารวิชาการระดับปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10 (2), 93-102.

สุภัค โอฬาพิริยกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการสำหรับโรงเรียนอนุบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Battelle for Kids. (2019). Framework for 21st Century Learning. Retrieved 14 February 2023. from : https://static.battelleforkids.org/documents/p21/p21_framework_brief.pdf

Bers, M. U. (2018). Coding and Computational Thinking in Early Childhood: The Impact of ScratchJr in Europe. European Journal of STEM Education, 3 (3), 8.

Bers, M. U., Strawhacker, A., & Sullivan, A. (2022). The state of the field of computational thinking in early childhood education. OECD Education Working Papers, (274).

Bocconi, S., Chioccariello, A., Dettori, G., Ferrari, A., & Engelhardt, K. (2016). Developing Computational Thinking in Compulsory Education (JRC Science for Policy Report), Sapin : Publications Office of the European Union.

International Society for Technology in Education (ISTE). (2019). No Device Needed To Teach Kids To Code. Retrieved 12 May 2023. from : https://www.iste.org/explore/In-the-classroom/No-device-needed-to-teach-kids-to-code

Kim, J., Leftwich, A., & Castner, D. (2024). Beyond teaching computational thinking: Exploring kindergarten teachers’ computational thinking and computer science curriculum design considerations. Education and Information Technologies, 29, 15191–15227.

Su, J., & Yang, W. (2023). A systematic review of integrating computational thinking in early childhood education. Computers and Education Open, 4, 1-12.

World Economic Forum (WEF). (2019). The Global Competitiveness Report 2019. Online. Retrieved 12 February 2023. from : https://www.weforum.org/reports/how-to-end-a-decade-of-lost-productivity-growth/

World Economic Forum (WEF). (2020). The Future of Jobs Report 2020.

online. Retrieved 14 February 2023. from : https://www.weforum.org/reports/the-future-of-jobs-report-2020

Wing, J. M. (2006). Computational thinking. Communications of the ACM, 49 (3), 33-35.