ประสิทธิผลการสอนบูรณาการคีตวรรณกรรมกับการแสดงในรายวิชาคีตวรรณกรรมสำหรับครูภาษาไทย: กรณีศึกษา การแสดงละครคีตวรรณกรรม ครั้งที่ 8 ตำนานรักราชมรรคาปาจิต-อรพิม ตอน จากนครธมถึงพนมรุ้ง

Main Article Content

บุณยเสนอ ตรีวิเศษ
ประยุทธ จิตราช
สันติภาพ ชารัมย์
พิพัฒน์ ประเสริฐสังข์
ยุพาวดี อาจหาญ

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการสอนบูรณาการคีตวรรณกรรมกับการแสดงในรายวิชาคีตวรรณกรรมสำหรับครูภาษาไทย : กรณีศึกษา การแสดงละครคีตวรรณกรรม ครั้งที่ 8 ตำนานรักราชมรรคาปาจิต-อรพิม ตอน จากนครธมถึงพนมรุ้ง เป็นงานวิจัยปฏิบัติการเน้นการประเมินตนเองตามสภาพจริง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบเขียนสะท้อนความรู้สึกนึกคิดเชิงวรรณกรรมในหัวข้อ “กว่าจะเป็นละครคีตวรรณกรรม ครั้งที่ 8” ของนักศึกษาจำนวน 56 คน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมของหัวข้อจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้าชมการแสดงจำนวน 172 คน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามวิธีของลิเคิร์ท (Likert) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาและค่าความสอดคล้อง (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.78 ใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 เป็นกรอบแนวคิดในการวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบการสะท้อนมุมมองในด้านทักษะทางปัญญา มากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านทักษะการจัดการเรียนรู้ พบน้อยที่สุด ในด้านประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้ชมมีความพึงพอใจในภาพรวม ระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.85

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

บุณยเสนอ ตรีวิเศษ, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

Krasang, Buriram Provine

References

ณัฏฐกฤษฏิ์ อกนิษฐ์ธาดา. (2556). ทำนองเสนาะ : ทางสู่สุนทรียภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมณี. (2566). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 26). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธำรง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร : การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนรัชการพิมพ์จำกัด.

นพมาส แววหงส์ และคณะ. (2553). ปริทัศน์ ศิลปะการละคร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2555). สอนเขียนแผนบูรณาการ บนฐานเด็กเป็นสำคัญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เพียรพิลาส พิริยาโภคานนท์, และศราวุฒิ ปิ่นทอง. (2566). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ผ่านจินตนาการเชิงรูปธรรมด้วยศาสตร์ละคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 17 (1), 258-271.

ภูมิจิต เรืองเดช. (2544). ปาจิต-อรพิม : การศึกษาวิเคราะห์วรรณกรรมท้องถิ่น. สุรินทร์: โรงพิมพ์รุ่งธนเกียรติออฟเซ็ท.

มนตรี มีเนียม. (2559). บทการแสดงจากวรรณคดีไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2564). หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (5 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564). สาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

มัทนี รัตนิน. (2559). ศิลปะการแสดงละคร หลักเบื้องต้นและการฝึกซ้อม. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ยุทธพงศ์ มาตย์วิเศษ. (2562). ท้าวปาจิต – นางอรพิม : จากตํานานท้องถิ่น สู่ชาดกนอกนิบาต. ออนไลน์.สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2567. แหล่งที่มา: https://e-shann.com/%e0%b8%97%e0%bb20

รังสิมา กุลพัฒน์. (2559). ตามรอย “ปาจิต-อรพิม” บนเส้นทางสายตำนาน ไทย-ลาว-เขมร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 ตุลาคม 2567. แหล่งที่มา : https://lek-prapai.org/home/view.php?id=5018

ลิขิต ใจดี. (2562). ละครสร้างสรรค์ : กระบวนการเรียนรู้ทางเลือกใหม่ที่สอดคล้องกับทิศทางการศึกษาของชาติ. บทความวิชาการเนื่องในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ธีรทัศน์เชิงมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปศาสตร์ วันที่ 4 มิถุนายน 2562 ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

วัชรพล วิบูลยศริน. (2561). วิธีวิทยาการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมปอง พรหมเปี่ยม. (2536). ทำนองเสนาะ : ทางสู่สุนทรียภาพ. กรุงเทพมหานคร: Mind Publishing.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Clack, R. (2013). Drama techniques. Online. Retrieved October 12, 2024. Source :https:// www.magistralinuoro.it/files/DRAMA%20TECHNIQUES.pdf