การพัฒนาและสร้างองค์ความรู้จากสารสกัดอาหารเสริมประสิทธิภาพพืช เพื่อเพิ่มมูลค่าในพืชเศรษฐกิจจังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและสร้างองค์ความรู้จากสารสกัดอาหารเสริมประสิทธิภาพพืชในจังหวัดศรีสะเกษ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลการใช้ประโยชน์สารสกัดอาหารเสริมประสิทธิภาพพืชในการเพิ่มมูลค่าพืชเศรษฐกิจจังหวัดศรีสะเกษ ลักษณะของการวิจัยเป็นการวิจัยประยุกต์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 267 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 55 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจ และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
1. เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สารสกัดอาหารเสริมประสิทธิภาพพืชในจังหวัดศรีสะเกษ หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม และมีความรู้ความเข้าใจอยู่ในระดับมากที่สุด
2. สารสกัดอาหารเสริมประสิทธิภาพพืชสามารถเพิ่มมูลค่าพืชเศรษฐกิจจังหวัดศรีสะเกษได้ โดยพืชทั้ง 11 ชนิด ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ถั่วเขียว ถั่วเหลือง หอม พริก ฝรั่ง ทุเรียน แตงกวา เห็ดนางฟ้าและผักไฮโดโปนิกส์ (กรีนโอ๊ค) มีผลผลิตสูงกว่าก่อนการใช้สารสกัดอาหารเสริมประสิทธิภาพพืช โดยพืชที่ได้รับการใช้สารสกัดอาหารเสริมประสิทธิภาพมีการเจริญเติมโตได้ดี ต้นสมบูรณ์ แข็งแรง ใบเขียวเข้ม ออกดอกเยอะ ผลดก ได้ผลผลิตมากขึ้น และช่วยลดต้นทุน
3. ความพึงพอใจต่อการใช้สารสกัดอาหารเสริมประสิทธิภาพพืชของเกษตรกรในจังหวัดศรีสะเกษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กมลมนัส วัฒนา และคณะ .(2565). การศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ที่มีต่อผลผลิตของมะเขือ เปราะพันธุ์นางพญา ใน วารสารเกษตรศาสตร์และเทคโนโลยีม. 3(2),76-85.
กรมวิชาการเกษตร. (2565). รายงานการเงิน กรมวิชาการเกษตร 2565. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการเกษตรกร.
คมสันต์ บุพตา และ ภักดี โพธิ์สิงห์. (2562). นโยบายเกษตรอินทรีย์กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 4 (3), 191-206.
จาริวัฒณ์ ศิริอินทร์ และคณะ. (2564). การศึกษาผลของน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของผักสลัดเบบี้เรดคอสที่ปลูกในระบบไฮโดรพอนิกส์. รายงานวิจัยสาขาวิชาชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.
บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ปรารถนา มินเสน และ ภาคภูมิ ดาราพงษ์. (2561). ประสิทธิผลการจัดการความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่ ในกรอบประชาคมอาเซียน.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 7 (1), 35-46.
ปิยะรัตน์ วิจักขณ์สังสิทธิ์ และคณะ. (2562). ผลของการใช้น้ำหมักชีวภาพต่างชนิดที่มีต่อการเจริญเติบโตของพริก. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 10 (หน้า 2,164-2173). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.
มนตรี โสคติยานุรักษ์. (2560). การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การกำกับดูแลกิจการ และความรับผิดชอบต่อสังคมสู่ความยั่งยืนของตลาดทุนไทย. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการประจำปี 2560 เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา: จากปรัชญาสู่การปฏิบัติ. จัดโดย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ วิทยาเขตปราจีนบุรี. ม.ป.ท.: ม.ป.ป. แหล่งที่มา: https://www.kmutnb.ac.th/faculty-and-agencies/ prachin-campus.aspx.
วิจารณ์ พานิช. (2557). การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างไร. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ้งภากรณ์. (2566). นโยบายรัฐบาลด้านการเกษตรกรรมของไทย. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.pier.or.th.
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ. (2564). ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดศรีสะเกษ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.opsmoac.go.th/sisaket-dwl-files-44199 1791383.
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2565). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเกษตรปลอดภัยและยั่งยืน: ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.oae.go.th.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2565). ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2565 และแนวโน้มปี 2566. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). คู่มือการปฏิบัติงานสนามโครงการสำมะโนการเกษตร พ.ศ. 2566. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภารัตน์ อ่อนก้อน. (2560). การส่งเสริมการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อคุมวัชพืชในข้าวนาหว่าน บ้านโคกก่อง ตำบลคันธารราษฎร์ อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. journal of environment health and community health. 2 (3), 28-38.