การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิค KWL Plus เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางเรียนและความพึงพอใจ ต่อการเรียนวิชาปรัชญาการศึกษาและการพัฒนาหลักสูตร ของนักศึกษาวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิค KWL 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการสอนตามรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ชั้นปีที่ 1 จำนวน 30 คน ได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม ด้วยวิธีการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
สรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานร่วมกับเทคนิค KWL มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ที่มาและความสำคัญของรูปแบบ 2. หลักการของรูปแบบ 3. แนวคิดการพัฒนารูปแบบ 4. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 5. เนื้อหาของรูปแบบ 6. กระบวนการจัดการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน ขั้นนำเสนอความรู้ใหม่ ขั้นการฝึกปฏิบัติ ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และขั้นสรุปความรู้ และ 7. การวัดและประเมินผล 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนเท่ากับร้อยละ 86.28 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครู พบว่า ความพึงพอใจของนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน ร่วมกับเทคนิค KWL Plus ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด
Article Details
References
ณัฐนันท์ โม้พิมพ์. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบ KWL-Plus ที่มีต่อความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ทรายแพรว ไชยมัชชิม. (2563). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดการใช้สมองเป็นฐานร่วมกับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5Es) เรื่อง น้าเพื่อชีวิตและอากาศรอบตัวเรา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 23). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิราศ จันทรจิตร. (2553). การเรียนด้านการคิด. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปิติณัช ราชภักดี. (2566). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานตามแนวความคิดการเรียนรู้ร่วมกันและการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเป็นฐาน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การคิดแก้ปัญหาทักษะการทำงานเป็นทีม และเจตคติต่อวิชาชีพพยาบาลสำหรับนักศึกษาพยาบาล. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. (วิจัยหลักสูตรและการสอน). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ผกาพรรณ วะนานาม. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ในรายวิชาการสร้างสื่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. วิทยานิพนธ์ ปร.ด. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วิจารณ์ พานิช. (2556).วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: บริษัทตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). หลักสูตรและการสอนภาษาไทย. มหาสารคาม: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
วัชรา เล่าเรียนดี. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป.
สิริยากร กระออมแก้ว. (2566). การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความสำคัญ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้เทคนิค KWL Plus ร่วมกับเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H การค้นคว้าอิสระ กศ.ม. ภาษาไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Call, Nicola. (2003). The thinking child brain-based learning for the foundation stage. PO Box 635 Stafford: Network Educational Press.
Carr, E., & Ogle, D. (1987). K-W-L Plus A Strategy for Comprehension and Summarization. Journal of Reading. 30, 626-631.
Conner, J. (2004). Instructional Reading Strategies: KWL (Know, Want to Know Learn). Online. Retrieved from http://www.indiana,Adu/- L517/kwl.htm.
Jensen. (2000). Brain-based learning. San Diego, CA: The Brain Store Publishing.
Joyce, B. and Weil, M. (2000). Models of teaching. New Jersey, NJ: Prentice-Hall.
Joyce, B., Weil, M. and Calhoun, E. (2004). Models of Teaching (7th ed.). London:Pearson.