การส่งเสริมสมรรถนะการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตปริญญาตรีโดยใช้รูปแบบการสอนการอ่านแบบกว้างและใช้กลวิธีการอ่านเป็นฐานการเรียนรู้
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยการทดลอง (Experimental research) โดยใช้แบบกลุ่มเดียวมีการสอบก่อนและสอบหลัง (the one-group pretest-posttest design) โดยมีวัตถุประสงคเพื่อ 1) ศึกษาความต้องการและปัญหาของนิสิตที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการอ่านภาษาอังกฤษ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตปริญญาตรีก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนการอ่านแบบกว้างและใช้กลวิธีการอ่านเป็นฐานการเรียนรู้ 3) ศึกษาความคิดเห็นของนิสิตปริญญาตรีที่มีต่อรูปแบบการสอน ฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) ที่ลงทะเบียนรายวิชาหลักการอ่าน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เครื่องมือการวิจัยได้แก่ 1) รูปแบบการสอนการอ่านแบบกว้างขวางและการสอนโดยใช้กลวิธีการอ่านเป็นฐานการเรียนรู้ 2) แผนการสอนตามรูปแบบการสอน ฯ 3) แบบทดสอบสมรรถนะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและ 4) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t – test for dependent sample เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังการใช้รูปแบบการสอนการอ่านแบบกว้างและใช้กลวิธีการอ่านเป็นฐานการเรียนรู้
ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการและปัญหาของนิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีต่อการพัฒนาสมรรถนะการอ่านภาษาอังกฤษ คือ ไม่มีแรงจูงใจในการอ่าน มีปัญหาในการใช้กลวิธีการอ่าน นิสิตต้องการทำกิจกรรมการอ่าน โดยมีอิสระในการเลือกเรื่องที่จะอ่าน
2. คะแนนทดสอบสมรรถนะการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตหลังใช้การสอนการอ่านแบบกว้างและการใช้กลวิธีการอ่านเป็นฐานการเรียนรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความคิดเห็นของนิสิตปริญญาตรี นิสิตมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการสอน ฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ในระดับมากที่สุด (4.89)
Article Details
References
จิรารัตน์ ประยูรวงษ์. (2565). การศึกษาการตระหนักรู้และการใช้กลยุทธ์การกำกับตนเองในการอ่านภาษา อังกฤษเชิงวิชาการของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. Valaya Alongkorn Review. 12 (1), 76-94.
ฉัตรปวีณ อำภา และ วิสาข์ จัติวัตร์. (2564). การพัฒนารูปแบบการสอนการอ่านเชิงวิชาการโดยใช้แนวทางการเรียนรู้ภาษาเพื่อความรู้ความเข้าใจทางวิชาการในการพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษทางวิชาการกลวิธีการเรียนรู้และทักษะการแก้ปัญหา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6 (12), 239-254.
ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2558). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: ศูนย์วิจัยและพัฒนาทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วสันต์ หอมจันทร์. (2562). การใช้กิจกรรมการอ่านแบบกว้างขวางเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชธานี. Journal of Ratchathani InnovativeSocial Sciences. 3 (2), 53-62.
วิกรม จันทรจิตร. (2565). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้รูปแบบการสอนอ่านแบบกว้างขวางร่วมกับการสอนกลวิธีการอ่าน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. 17 (2), 23-37.
วิสาข์ จัติวัตร์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานและการสอนอ่านภาษาอังกฤษด้วยกลวิธีปฏิสัมพันธ์ผ่านการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษการ ใช้กลวิธีในการอ่านและความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาตรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมาสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 13 (3), 181-194.
สิริดนย์ แจ้งให้, สิริมา ป้วนป้อม, อมลณัฐ หุ่นธานี, & สำราญ มีแจ้ง. (2564). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อปัญหา
ในการอ่านภาษาอังกฤษของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารอักษราพิบูล. 2 (2), 42-56.
สมบัติ คำมูลแก้ว. (2566). การใช้แนวคิดการสร้างความรู้ด้วยตนเองร่วมกับเทคนิคการอ่านแบบกว้างเพื่อเพิ่มพูนความสามารถการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. วารสารครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 17 (2), 95-106.
อารีรักษ์ มีแจ้ง. (2563). การพัฒนาชุดฝึกอบรมผ่านเว็บเรื่องการสอนกลวิธีการอ่านสำหรับครูผู้สอนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 13 (1), 1-14.
Anderson, N. J. (2008). Active Skills for Reading Student Book 3. 2nd ed. Boston: Heinle Cengage.
Anderson, N. J., & Nunan, D. (2008). Practical English language teaching: Reading. New York: McGraw-Hill ESL/ELT.
Boonmoh, A., & Tuaynak, A. (2023). An Exploration of Explicit Teaching of Reading with Thai Students of Low EFL Proficiency: Factors Affecting Reading Comprehension. Kasetsart Journal of Social Sciences. 44 (4), 1061-1070.
Brown, R. V. (2000). Extensive reading in Action. Studies in English Language and Literature. 41 (12), 79-123.
Carrell, P. L. (1988). SLA and Classroom Instruction: Reading. Annual Review of Applied Linguistics. 9, 223-242.
Chuntarajit, W., & Thienpermpool, P. (2022). The Development of English Reading Comprehension of Undegraduates through Extensive Reading Integrating with Reading Strategies Instruction. Journal of Liberal Art Rangsit University. 17 (2), 23-37.
Day, R., & Robb, T. (2015). Extensive Reading. In Language Learning beyond the Classroom. Routledge.
Intasuk, B. (2022). Using Reading Strategy-Based Instruction to Promote EFL Undergraduates’ Reading Ability. Academic Journal of Phetchaburi Rajabhat University. 12 (2), 119-126.
Joyce, B., Weil, M., and Showers, B. (1992). Model of Teaching. in Allyn and Bacon (Eds.), (4th ed.). Boston: A Division of Simon & Schuster, Inc.
Pammu, A., Dewintha, R., & Nursafira, M. S. (2022). University Students’ Perceptions of Extensive Reading Intervention: Evidence from Universitas Hasanuddin NonEnglish
Freshmen. Utamax: Journal of Ultimate Research and Trends in Education. 4 (3), 246-254.
Suci, T. C., Yanto, E. S., & Miftakh, F. (2022). Students’ Responses in Learning Extensive Reading through the Literature Circle. JIIP-Jurnal Ilmiah Ilmu Pendidikan. 5 (9), 3602-3610.
Wisaijorn, P. (2017). Effects of Extensive Reading on Thai University Students. PASAAParitat Journal. 32, 29-61.
Wannathong, N., & Danvivath, U. (2020). Enhancing Reading Comprehension of Thai EFL Undergraduates Using Reading Strategy Instructional Model. College of Asian Scholars Journal. 10 (3), 23-30.
Wutthisingchai, S. (2022). Creation of Learning Strategies for Development of English Reading Skill by the Extensive Reading in EFL Classroom. Asian Journal of Education and Training. 8 (3), 85-94.
Zambrano, M. Y. R., & Alcívar, Y. A. C. (2023). Importance of Strengthening Reading Comprehension Strategies in Higher Education Institutions. Revista San Gregorio. 1, 194-204.