แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษาจังหวัดพิษณุโลก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 196 คน ประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 5 คน โดยวิธีเลือกแบบเจาะจง และครูผู้สอนจำนวน 191 คน จากนั้นดำเนินการสุ่มโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.907 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่าแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดพิษณุโลก ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความรับผิดชอบในงาน รองลงมาคือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน
Article Details
References
กนก ทิพย์ สุข อนันต์, และกนก กร ศิริ สุข. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3. วารสาร ทัศน มิติ ทางการศึกษา. 1 (2), 62-76.
กุลนันท์ โป๊ะเงิน. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทมาสด้า ชิตี้. การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 14 (หน้า756-765). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
กุลิสรา กอปรเมธากุล และ ภิรดา ชัยรัตน์. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์. 7 (2), 76-95.
เกวลี ลุนไชยภา. (2560). แรงจูงใจของครูและบุคลากรที่มีผลต่อการปฏิบัติงานในโรงเรียนนาหลวง สำนักงานเขตทุ่งครุกรุงเทพมหานคร. วารสารออนไลน์บัณฑิตศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. 1-9.
เกียรติศักดิ์ พลเดช, วิรัตน์ ธรรมาภรณ์ และละมุล รอดขวัญ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนะต่อการใช้อำนาจของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. วารสารสหวิทยาการและการจัดการร่วมสมัย. 2 (2), 33-48.
คมทวน สอสอาด และกนกพร ชัยประสิทธิ์. (2565). คุณภาพชีวิตในการทำงานและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของข้าราชการครูประถมศึกษา. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 6 (3), 72-84.
จรียากรณ์ หวังศุภกิจโกศล และ ประสพชัย พสุนนท์. (2566). การวิเคราะห์ความสมนัยระหว่างช่วงวัยและแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสถาบันการบินพลเรือน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 43 (2), 20-38.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ มหานคร: วี พรินท์.
จักรี ศรีจารุเมธีญาณ และสุรศักดิ์ อุดเมืองเพีย. (2563). แรงจูงใจในการทำงาน. วารสาร มจร. อุบลปริทรรคน์. 5 (1), 424-436.
Draft, R.L. (2000). The leadership experience. New York: Harcourt College Publishers.
Herzberg, F. & Others. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley and Sons.
Mitchell, M., White, L., Oh, P., Alter, D., Leahey, T., Kwan, M., and Faulkner, G. (2017). Uptake of an Incentive-Based mHealth App: Process Evaluation of the Carrot Rewards App. JMIR mHealth and uHealth, 5 (5), e7323.
Mosha, U. S. , & Rwabishugi, L. L. . (2023). The Role of Intrinsic Motivation on the Performance of Public Service Delivery. The Accountancy and Business Review, 15 (2), 22–35.
Spector, P. E. (2000). Industries and Organizational Psychology Research and Practice. (2nd ed.). New York: John Wiley & Sons.
Yusupov Umdjon, Adilova Madina. (2023). PROFESSIONAL MOTIVATION AND ITS STRUCTURE IN THE MANAGEMENT PROCESS. E Conference Zone, 11–16.