การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์อิงสมรรถนะระดับชั้นมัธยมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์อิงสมรรถนะเกิดขึ้นเนื่องจากปัญหาของหลักสูตรและผลสัมฤทธิ์ในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่ไม่สามารถนำความรู้ ทักษะและเจตคติที่ได้จากการเรียนประวัติศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตประจำวัน ผู้วิจัยจึงพัฒนาหลักสูตรประวัติศาสตร์อิงสมรรถนะขึ้นเพื่อเป็นหลักสูตรนำร่องของการจัดทำหลักสูตรฐานสมรรถนะสำหรับสถานศึกษาและครูเพื่อใช้พัฒนาสมรรถนะให้กับผู้เรียน โดยหลักสูตรประวัติศาสตร์อิงสมรรถนะที่จัดทำขึ้นผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ หลักสูตรและการสอนในระดับอุดมศึกษาและระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จากการดำเนินการวิจัยได้หลักสูตรประวัติศาสตร์อิงสมรรถนะสำหรับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัด ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และฉบับปรับปรุงพุทธศักราชฉบับ 2560 ผลการวิจัยในภาพรวมผู้ทรงคุณวุฒิเห็นด้วยว่ามีคุณภาพระดับมาก
Article Details
References
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาและสํานักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะเชิงรุก. โครงการวิจัยและพัฒนากรอบสมรรถนะผู้เรียน ระดับประถมศึกษาตอนต้นสําหรับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
นาตยา ปิลันธนานนท์. (2565). สังคมศึกษา: ยุคมาตรฐานกำกับ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรจน ปริ้นท์ติ้ง.
ศักดิ์ดา ทองโสภณ. (2564). เทคนิคการจัดการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมือง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 32 (3), 11-23.
McClelland, D. (1973).Testing for Competency Rather Than for Intelligence. American Psychologist. 28 (1), 1 - 14.
McClelland, D.C. (1993). Competence at Work: Model for Superior Performance. New York: John Wiley and Sons.
Nikolov, R., E. Shoikova and E. Kovatcheva. (2014).Competence Based Framework for Curriculum Development. Sofia; Za bukvite, O’pismeneh.
Spencer, L.M. and S.M. Spencer. (1993).Competency at Work: Models for Superior Performance. New York: John Wiley & Sons.