การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เชิงพาณิชย์ที่ยั่งยืนโดยใช้เทคนิคการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม

Main Article Content

ปิยดา ปัญญาศรี
ธีรวุฒิ เอกะกุล

บทคัดย่อ

           บทความวิชาการฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในการประยุกต์ใช้เป็นแนวทางหรือเครื่องมือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เชิงพาณิชย์ที่ยั่งยืน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับความหมาย กระบวนการ วิธีการและเครื่องมือของการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม รวมถึงแสดงตัวอย่างความสำเร็จการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในชุมชนท้องถิ่น โดยเน้นที่การเพิ่มมูลค่าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม การวิจัยและพัฒนา การอบรมและส่งเสริมทักษะให้กับชุมชน การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่น่าสนใจ และการทำตลาดอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในตลาด    ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสามารถสร้างรายได้และส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะในชุมชนที่มีวัฒนธรรมและทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์ ซึ่งนักวิจัยที่สามารถตอบคำถาม       ทำความเข้าใจและแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ด้วยการเชื่อมโยงช่องว่างระหว่างความรู้และการปฏิบัติผ่านการสอดแทรกทุกขั้นตอนของกระบวนการวิจัย และเชื่อมั่นผลการวิจัยจากความร่วมมือและการสนับสนุนความสามารถของประชาชนและผู้มีส่วนร่วมนำไปสู่การปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงระบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เชิงพาณิชย์ที่ยั่งยืน สรุปบทความนี้เป็นการส่งเสริมชุมชนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่เชิงพาณิชย์ที่ยั่งยืน จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว ทำให้ชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเติบโตอย่างยั่งยืนผ่านขั้นตอนกระบวนการวิจัยสู่ความรู้

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จิรัชยา เจียวก๊ก และสันติชัย แย้มใหม่. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน. วารสารหาดใหญ่วิชาการ. 14 (1), 79-95.

ปิยดา ปัญญาศรี. (2565). การพัฒนานวัตกรรมสำหรับยกระดับเศรษฐกิจฐานรากผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดยโสธร. ยโสธร: วิทยาลัยชุมชนยโสธร.

ยงยุทธ แสนประสิทธิ์. (2554). รูปแบบการป้องกันปัญหาความรุนแรงในครอบครัว โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวโรฒิ.

ศิราพร งามแสง. (2555). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ศิวพร ละม้ายนิล. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างศักยภาพนักวิจัยชุมชน อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

หทัยวรรณ วิศวกุลวาณิช. (25570. การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการบริหารสถานศึกษาเอกชนโดยใช้การบริหารแบบสมดุล กรณีศึกษาโรงเรียนกาญจนะวิทยา จังหวัดชลบุรี. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1977). Rural development participation : concepts and measurements for project design implementation and evaluation. (Manuscript) Ithaca : The Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University.

Phuangsomjit. (2014). Participatory Action Research on Research in Educational Administration. (Book 2 (Unit 6-10); 3rd edition). Bangkok : Sukhothai Thammathirat Open University. (in Thai).

Walter, M. (2009). Participatory Action Research. Social Research Methods. In A. Bryman(Ed.), Social Research Methods. London : The Falmer Press.