การพัฒนากระบวนการทางการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ ในการจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

Main Article Content

วาทิต ประสมทรัพย์
ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย
ภัทรา วยาจุต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความตระหนักรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย 2) พัฒนากระบวนการทางการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการขยะมูลฝอย โดยการวิจัยในระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณเพื่อสำรวจระดับความตระหนักรู้ของประชาชนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 399 คน ใช้การสุ่มแบบหลายชั้น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าและหาค่าความสอดคล้องของข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา แสดงจำนวนและค่าร้อยละ การวิจัยในระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนากระบวนการทางการศึกษานอกระบบโดยการสรรหาอาสาสมัครที่มีความสนใจในเรื่องการจัดการขยะมูลฝอยจำนวน 10 คน ดำเนินการวิจัยตามวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ PAOR ที่กำหนดไว้ 8 แผนงาน เก็บข้อมูลด้วยการจดบันทึก บันทึกภาพและเสียงสนทนา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยสรุปประเด็นสำคัญ
          ผลการวิจัยในระยะที่ 1 พบว่า ในภาพรวมของกลุ่มตัวอย่างมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการขยะมูลฝอยในระดับมาก มีการมองเห็นคุณค่าและความสำคัญของการจัดการขยะมูลฝอยในระดับปานกลางถึงมาก แต่มีพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในระดับต่ำถึงปานกลาง ผลการวิจัยในระยะที่ 2 พบว่า กระบวนการทางการศึกษานอกระบบเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการจัดการขยะมูลฝอยมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์ปัญหา 2) แสวงหาแนวทางสร้างความตระหนักรู้ 3) ก้าวข้ามความยากลำบาก และ 4) สู่ความตระหนักรู้ 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณภรณ์ รุ่งแจ้ง และสายวารี เกษแก้ว. (2567). ผลการใช้การเขียนบันทึกสะท้อนความคิดตามแนวจิตตปัญญาศึกษาเพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย. วารสารราชพฤกษ์. 9 (2), 78-91.

กิตติกันตพงศ์ ศรีบัวนำ. (2560). การพัฒนากระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการอยู่ร่วมกันอย่างเกื้อกูลในชุมชนเมือง: กรณีศึกษาชุมชนบ้านครัวเหนือ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/59443

จุฑาเทพ จิตวิลัย และอาชัญญา รัตนอุบล. (2563). ผลการจัดกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://so01.tci-thaijo.org/index.php/OJED/article/ view/221363

ญาณิศา โคคะมาย และวีรพล วีรพลางกูร. (2562:13). การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสมาชิกชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. HUSO Journal of Humanities and Social Sciences. 3 (2), 1-13.

นิรันดร์ ยิ่งยวด. (2560). การพัฒนาความรู้และความตระหนักในการจัดการขยะสำหรับนิสิตสาขาวิชา เกษตรและสิ่งแวดล้อมศึกษาผ่านการมี ส่วนร่วมระหว่างเครือข่ายมหาวิทยาลัย โรงเรียน และชุมชน. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 10 (1), 770-785.

รุ่งรดิศ คงยั่งยืน, พิณะเวช คงยั่งยืน และ ฐากร สวัสดิกำธร. (2567). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการขยะ กรณีศึกษาชุมชน ตำบลบางรักน้อย อำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 11 (2), 144-57.

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.). (2562). ความเป็นมาของอีอีซี. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564. แหล่งที่มา: https://www.eeco.or.th/th/ government-initiative

สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 13 (ชลบุรี) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2564). ขยะมูลฝอยและของเสียอันตรายชุมชน. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมภาคตะวันออก ปี 2564. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2564. แหล่งที่มา https://www.mnre.go.th/re013

สุนทรา โตบัว. (2561). วิธีการเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และผสมวิธี: การวางแผนและออกแบบการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน.

สุวิชชา รักษศรี. (2558). การพัฒนาความตระหนักทางสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรมนันทนาการสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. Veridian E-Journal, Silpakorn University. 8 (1), 1237-1238.

อารักข์ หาญสันเทียะ วีรฉัตร์ สุปัญโญ และอาชัญญา รัตนอุบล. (2563). การพัฒนากระบวนการศึกษานอกระบบโรงเรียนแบบผสานแนวคิดเพื่อการเสริมสร้างจิตสำนึกการใช้พลังงานของผู้พักอาศัยในชุมชนบางกรวย จ.นนทบุรี. Journal of Education Studies. 48 (1), 373-386.

Altrichter, H., Kemmis, S., McTaggart, R., & Zuber‐Skerritt, O. (2002). The concept of action research. The Learning Organization. 9 (3), 120-131.

Knowles, M. (1975). Self-Directed Learning: A Guide for Learners and Teachers. Chicago, IL: Follett Publishing Company.

Black, R.S. & Rojewski, J.W. (December 13, 1997). The role of social awareness in the employment success of adolescents with mild mental retardation [Paper presented at the Annual Meeting of the American Vocational Education Research Association]. Las Vegas, Nevada, United States. https://files.eric.ed.gov/fulltext/ED423405.pdf.

Rinkesh. (2022). Causes, Effects and Solution of Depletion of Natural Resources. Turkish Online Journal of Qualitative Inquiry (TOJQI). 12 (6), 5650-5663.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Ed). New York: Harper and Row.