การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามแนวคิดโรงเรียนมาตรฐานสากล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของ การบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนารูปแบบ และตรวจสอบรูปแบบที่เหมาะสมกับการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามแนวคิดโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นการวิจัยเชิงพัฒนากลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 63 โรงเรียน โรงเรียนละ 9 คน รวม 567 คน โดยการสุ่มตัวอย่างของ Krejcie & Morgan (1970: 607-610) เครื่องมือในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และโดยวิธี Priority Needs Index : PNI Modified
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนมาตรฐานสากล คือรูปแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม มีลักษณะการบริหาร 5 องค์ประกอบ คือ การเป็นเลิศวิชาการ สามารถสื่อสารสองภาษา ความล้ำหน้าทางความคิด ผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ และร่วมกันรับผิดชอบต่อสังคมโลก และ 8 องค์ประกอบย่อย สภาพที่พึงประสงค์ พบว่า ความต้องการจำเป็นในการปรับปรุงรูปแบบการบริหารในด้านการกำหนดเป้าประสงค์ที่มีค่ามากที่สุด ได้แก่ รูปแบบการบริหารแบบทางการ เมื่อพิจารณาค่า PNI ในภาพรวม พบว่า ความต้องการจำเป็นตามแนวคิดโรงเรียนมาตรฐานสากลตามรูปแบบโมเดล collegial model 1) รูปแบบการบริหารแบบผู้ร่วมงาน 2) รูปแบบการบริหารแบบการเมืองและทางการ 3) รูปแบบอัตวิสัย และรูปแบบแบบการบริหารแบบวัฒนธรรม
2. การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษา ตามแนวคิดโรงเรียนมาตรฐานสากล ได้รูปแบบบูรณาการ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบผู้ร่วมงานเป็นรูปแบบหลักผสาน รูปแบบทางการ และรูปแบบการเมือง
3. รูปแบบการบริหารสถานศึกษาตามแนวคิดโรงเรียนมาตรฐานสากลมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในระดับมากทุกข้อ และบางข้ออยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งสามารถคงประเด็นหลักที่สำคัญของรูปแบบการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ตามแนวคิดโรงเรียนมาตรฐานสากล
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเดิม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด
กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). แนวทางการดําเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล (World class standard school) ฉบับปรับปรุง 2561. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
กัญจน์ชญาน์ พลอยแสงฉาย. (2560). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนมาตรฐานสากลสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) (วิชาการบริหารเพื่อการพัฒนาการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
พรศักดิ์ ทิพย์วงษ์ทอง. (2560). รูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการ บริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรรณวดี ปามุทา. (2559). ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
พัชรัตน์ วุฒิญาณ. (2565). ถอดบทเรียนความสำเร็จการบริหารคุณภาพการจัดการศึกษาสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล: พหุกรณีศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 39. ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ลาวัลย์ รักสัตย์. (2558). แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดระดับสูง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2565. แหล่งที่มา: http://www.myfirstbrain. com/teacher_view. Aspx
วรรณี แกมเกตุ. (2555). วิธีวิทยาการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิชุดา เมาบุดดา. (2563). ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สมพร ฉั่วสกุล. (2557). รายงานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตานโยบายและยุทธศาสตร์กระพรวงศึกษาธิการ. ภูเก็ตะ สำนักงานศึกษาธิการภาค 10.
สายสุนีย์ ไชยสุข. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที13 (พ.ศ. 2566 - 2570). กรุงเทพมหานคร: สํานักนายกรัฐมนตรี.สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2561). มัธยมศึกษายุคใหม่สู่มาตรฐานสากล 2561. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สมาน อัศวภูมิ. (2561). ทบทวนแนวคิดและวิธีวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบและการพัฒนารูปแบบ. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 18 (1), 1-13.
สุวิมล ว่องวาณิช และคณะ. (2555). การวิจัยและพัฒนาระบบประเมินภายในของสถานศึกษา.กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.
อานนท์ บุณยะรัตเวช. (2548). การพัฒนาโรงเรียนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ.
Anderson, S. (1997). Using the Malcolm Baldrige National Quality Award Education PilotCriteria for Self-Assessment of School Districts. Unpublished Dissertation, College of Graduate Studies, University of Idaho.
Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Educational and Psychological Measurment. New York: Minnisota Universisty.
Tony Bush. (2011). Theories of Educational Management. Online. Retrieved September 26, 20011, from http://www.cnx./content/m13867/lastest.