การศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง

Main Article Content

พชรกมล คำไวย์
สถิรพร เชาวน์ชัย
ฉลอง ชาตรูประชีวิน
จิตติมา วรรณศรี
สำราญ มีแจ้ง

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน 1) การสังเคราะห์เอกสาร และการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา โดยการศึกษาเอกสาร (Document Study) หลักการ แนวคิดทฤษฎี แนวทางการปฏิบัติงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน แนวคิด ทฤษฎีหลักการแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา การบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน กระบวนการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและความสามารถในการปรับตัวและสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องเครื่องมือที่ใช้ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นตารางการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เนื้อหา 2) การศึกษาแนวทางการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษา โดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 11 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา 3) การศึกษากระบวนการบริหารที่เป็นเลิศ (Best Practice) ในสถานศึกษาต้นแบบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ที่ได้รับรางวัลระดับเขตพื้นที่การศึกษาหรือรางวัลระดับประเทศ จำนวน 3 แห่ง โดยแบ่งตามขนาดโรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนขนาดใหญ่ โรงเรียนขนาดกลาง และโรงเรียนขนาดเล็ก ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 6 คน ซึ่งเป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
           ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบและแนวการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนโรงเรียนประถมศึกษาเขตภาคเหนือตอนล่าง มี 3 ประการ ได้แก่ 1) ปัจจัยการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) กระบวนการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนและ3) ความสามารถในการปรับตัวของนักเรียนมี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านการอยู่ร่วมกันกับบุคคลอื่น ด้านอารมณ์ส่วนบุคคล และด้านสุขภาพร่างกาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษฎิ์ณิชา พุทจิระ. (2564). การพัฒนารูปแบบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนวัดจันทาราม (ตั้งตรงจิตร 5) เน้นสมรรถนะประจำสายงานของครูประจำชั้น. สารนิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะสหวิทยาการ. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ประสิทธิ์ ทะเสนเฉด. (2549). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สมายพริ้น.

ระวีวรรณ เพ็ชรคง. (2557). แนวทางพัฒนาปัจจัยและกระบวนการตามมาตรฐานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

วรรณา นิ่มวุ่น. (2549). การปรับตัวในการใช้ชีวิตในกรุงเทพมหานคร ของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเทพลีลา เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร. ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. (2546).คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุครุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือการปฏิบัติงานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

อภิชาติ ทองอยู่. (2563). โลกใบใหม่การศึกษาและห้องเรียนศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม2567. แหล่งที่มา: https://www.ryt9.com/s/tpd/2968198.

อภิสิทธิ์ รอดบำเรอ. (2559). รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว .ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2566. แหล่งที่มา: http://ejournals.swu.ac.th/index.php/jre/ article/view/7939.

อวยชัย ศรีตระกูล. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ในสถานศึกษาสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อุไร ปัญญาสิทธิ์. (2560). รูปแบบการเสริมพลังเพื่อการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Gunderson, J. (2017). Family group conference: An innovative approach to truancy in schools. A case study, online. accessed March 2, 2024, available from http://digitallibrary. usc.edu/cdm/ref/collection/p15799coll/16id/77364Goodman87 , Robert and others. "Using the Strengths and Difficulties Questionnaire (SDQ) to Screen for Child Psychiatric Discipline in a Community Samples," Dissertation Abstracts International 65,10 (October, 2003): 1178 – A

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W., (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement.