อิทธิพลของความรู้ด้านเอไอที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริการของพนักงาน สถาบันการเงินแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของความรู้ด้านเอไอ ที่มีต่อการสร้างรูปแบบในการทำงาน การแบ่งปันความรู้ ความไม่มั่นคงในงาน และ 2) อิทธิพลของการสร้างรูปแบบในการทำงาน การแบ่งปันความรู้ ความไม่มั่นคงในงาน ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริการของพนักงานสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานสถาบันการเงินแห่งหนึ่งสายงานเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาลูกค้าในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 230 คน ซึ่งขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคํานวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ของทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane, 1973)
ผลการวิจัยพบว่า การตรวจสอบข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าดัชนีความกลมกลืนดังนี้ CMIN/df = 1.728, GFI = 0.883, CFI =0.985, RMR = 0.021, RMSEA = 0.056 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ความรู้ด้านเอไอ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการสร้างรูปแบบในการทำงาน และ การแบ่งปันความรู้ นอกจากนี้การสร้างรูปแบบในการทำงาน กับ การแบ่งปันความรู้ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการบริการ ในขณะที่ความรู้ด้านเอไอ มีอิทธิพลเชิงบวกต่อความไม่มั่นคงในงาน และ ความไม่มั่นคงในงานมีอิทธิพลเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการบริการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ผู้บริหารและฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรสามารถนําผลการวิจัยมาใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับพนักงานในองค์กรให้มีประสิทธิภาพการบริการและบรรลุเป้าหมายองค์กร
Article Details
References
ณิชารีย์ เสนะวัต. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความไม่มั่นคงในงานและความต้องการลาออก: บทบาทของภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล และการฟื้นพลัง. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธนภรณ์ พรรณราย. (2565). ปัจจัยทส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ (2558) Hydro - Informatics Institute of Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation in Thailand
ปาริชาติ ปานสำเนียง (2556) คุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้ ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิดที่ดีต่อองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน มหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ. 24 (2), 129-142.
ภาสกร เตวิชพงศ์ และ ลลิตา วุฒิวิชญานันต์ (2566) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความไม่มั่นคงในงานและความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์การของพนักงานในอุตสาหกรรมธุรกิจสายการบิน: บทบาทการเป็นตัวแปรปรับของความไว้วางใจต่อองค์การ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภูวดล จุลสุคนธ์.(2566) ผลการใช้กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการแบ่งปันความรู้ของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 8 (2), 1498-1500.
วรัญพงศ์ บุญศิริธรรมชัย, และ พลอย สุดอ่อน. (2565). สุขภาวะของพนักงานหลังจากการปรับโครงสร้างขององค์กรที่ส่งต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์. 5 (1), 22-36.
วนิดา เหลืองสัจจกุล. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อพนักงานที่มีต่อบริษัท ทีโอที จำกดั (มหาชน) กรณีศึกษา ส่วนบริการลูกค้า จังหวัดราชบุรี.ค้นคว้าอิสระ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสารวิทยบริการ. 24 (2), 24- 54.
Baber, H. (2020). Determinants of Students’ Perceived Learning Outcome and Satisfaction in Online Learning during the Pandemic of COVID-19. Journal of Education and e-Learning Research. 7 (3), 285-292.
Chiu, Y., Zhu, Y. and Corbett, J. (2021), “In the hearts and minds of employees: a model of pre-adoptive appraisal toward artificial intelligence in organizations”. International Journal of Information Management. Vol. 60, p.102379.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 16 (3), 297-334.De
Dynamic Intelligence Asia (2020).www.dia.co.th/articles/what-is-artificial-intelligence/
Fred D. Davis. (2022). A cultural contingency model of knowledge sharing and job performance. Journal of Business Research. 140 (2022), 202-219.
Li, Y., Peng, L., Ma, S. and Zhou, X. (2022). Beauty premium or beauty penalty in sharing accommodation situations based on lay theories, International Journal of Contemporary Hospitality Management. 34 (3), 929-950.
Liang, X., Guo, G., Shu, L., Gong, Q. and Luo, P. (2022), “Investigating the double-edged sword effect of AI awareness on employee’s service innovative behavior. Tourism Management. Vol. 92, p.104564.
Moon, T. W., Youn, N., Hur, , W. M., & Kim, K. M. (2020). Does employees’ spirituality enhance job performance? The mediating roles of intrinsic motivation and jobcrafting. Current Psychology. 39, 1618-1634.
Nguyen, H. M., Nguyen, C., Ngo, T. T., & Nguyen, L. V. (2019). The effects of job crafting on work engagement and work performance: A study of Vietnamese commercial banks. The Journal of Asian Finance. Economics and Business. 6 (2),189-201.
Perez, F., Conway, N. & Roques, O. (2022). The Autonomy Tussle: AI Technology and Employee Job Crafting Responses. Relations industrielles / Industrial Relations. 77 (3).
Swanson,E.& Lee,Y.,K. (2020). The effect of leader competencies on knowledge sharing and job performance: Social capital theory. Journal of Hospitality and Tourism Management. Volume 42, 88–96.
Taro Yamane. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Zhang, Q., Lu, J., & Jin, Y. (2021). Artificial intelligence in recommender systems. Complex & Intelligent Systems. 7 (1), 439–457.