ผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูมแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Main Article Content

สมศักดิ์ จั่นผ่อง

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูมแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ (EF) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูมแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จของนักศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด และ 2) ศึกษาผลการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูม กลุมตัวอยาง เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ปีการศึกษา 2564 จำนวน 28 คนซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือ 1) แบบประเมินทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จของนักศึกษา 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูมแบบสืบเสาะหาความรู้  3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน การวิเคราะห์      ขอมูลใช้สถิติพื้นฐาน คือ คาเฉลี่ย สวนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วย       t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูมแบบสืบเสาะหาความรู้ฯของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี สามารถกำหนดกิจรรมเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรมการเรียน และขั้นที่ 3 ขั้นการประเมินผลการเรียนรู้ บทเรียนมีค่าประสิทธิภาพระหว่างเรียนและหลังเรียน (E1/E2) เป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80 โดยมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.92/83.24 2) คะแนนประเมินหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูมแบบสืบเสาะหาความรู้ อยู่ในระดับมาก (= 4.25) การวิจัยนี้ทำให้ได้แนวทางในการออกแบบและสร้างระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูมแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และสามารถสงเสริมและพัฒนาการนําระบบการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูมแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีให้มีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพการใช้งาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณา สิกขมาน. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนออนไลน์แบบ Interactive ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษธุรกิจ ของนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศรีปทุม. วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12 (2), 93-102.

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์

นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล และ ปนัดดา ธนเศรษฐกร. (2560). Executive Functions (การคิดเชิงบริหาร), เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการระดมสมองวางกรอบประเด็นและเนื้อหาหนังสือนิทานฯโครงการ “หนังสือนิทานสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดสำหรับเด็กปฐมวัย” https://sites.google. com/a/nptkindergarten.com/kindergarten/ef-executivefunctions/Untitled_1_05.jpg? attredirects=0

ศรายุทธ เนียนกระโทก และ อุษานาฏ เอื้ออภิสิทธิ์วงศ์. (2559). การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์สําหรับอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. (รายงานการวิจัย). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

สมศักดิ์ มงคลขจรกิตติ. (2558). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ใช้หลักการเรียนรู้ร่วมกันแบบ สืบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีแบบการเรียนต่างกัน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. 10 (29), 17-30.

สุภาวดี หาญเมธี. (2561). EF ภูมิคุ้มกันชีวิตและป้องกันยาเสพติด : คู่มือสำหรับครูอนุบาล. พิมพลักษณ์, กรุงเทพมหานคร: รักลูกบุ๊คส์.

สุมาลี ชัยเจริญ (2557). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น: สาขาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อินทุราภรณ์ มงคลขจรกิตติ, อรรถ อภินนท์ธีระศักดา และ ธนิกานต์ ศรีจันทร์. (2562). การพัฒนาระบบจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์ด้วยโปรแกรมกูเกิ้ลคลาสรูม สําหรับอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.วารสารวิชาการบัณฑิตศึกษาและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 9 (1), 168-181.

Bloom, Benjarmin S. (1976). Taxonomy of Education objective. London: Longman Group.

Collins, A.,Brown, J. S., &Holum, A. (1991). Cognitive apprenticeship: Making thinkingisible. American Educator, 6 (11), 38-46.