การประกอบสร้างคุณค่าเชิงสัญญะทางวัฒนธรรมอาหารในรายการสารคดี โทรทัศน์ หอมกลิ่นสยาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบสร้างคุณค่าเชิงสัญญะทางวัฒนธรรมอาหาร
ในรายการสารคดีโทรทัศน์หอมกลิ่นสยาม งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการศึกษาจากรายการสารคดีโทรทัศน์หอมกลิ่นสยาม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบการพรรณนาวิเคราะห์ โดยใช้แนวคิดของโรล็องด์ บาร์ตส์ วิเคราะห์การประกอบสร้างคุณค่าเชิงสัญญะทางวัฒนธรรมอาหาร เพื่อให้เห็นถึงคุณค่าเชิงสัญญะทางวัฒนธรรมอาหาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย กรอบแนวคิด หนังสือตำรา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า รายการสารคดีโทรทัศน์ หอมกลิ่นสยาม มีการประกอบสร้างคุณค่าเชิงสัญญะทางวัฒนธรรมอาหาร จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการบริโภคเชิงสัญญะ พบคำและภาพที่สื่อถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทย ความสุนทรียะของอาหารแบบชนชั้นสูงหรือชาววัง ในเรื่องรูปลักษณ์ รสชาติ กลิ่น และเสียง รวมไปถึงคำที่สื่อถึงความทันสมัย พบการใช้คำภาษาต่างประเทศ และการใช้ความเปรียบเทียบช่วยให้เกิดจินตภาพ อันนำมาซึ่งสำนึกหรือการตระหนักในคุณค่าของความเป็นรากเหง้า 2) ด้านความเชื่อเชิงสัญญะ พบการใช้สัญลักษณ์ที่มีความหมายมงคล เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลที่สำคัญเป็นการเพิ่มขวัญและกำลังใจในการดำเนินชีวิตให้เป็นไปอย่างมีความสุข 3) ด้านภูมิปัญญาเชิงสัญญะ พบอาหารที่เป็นตัวแทนของวัฒนธรรมทาง ภาษา วรรณกรรม และศิลปะที่มีความสำคัญต่อสังคมไทย
Article Details
References
คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2556). ธรรมแห่งอริยะ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: ดอกหญ้า 2000.
จันทิมา อังคพณิชกิจ. (2561). การวิเคราะห์ข้อความ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประสานสุข ตันติเวชกุล, ท่านผู้หญิง. (2566). บันทึกนึกอร่อย: กับข้าว กับปลา. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์.
เปรม สวนสมุทร. (2560). ตำรับชาววัง: นวัตกรรมแห่งโภชณียประณีต. วารสารวิชาการนวัตกรรมสืบสานสังคม. 5 (2), 150-160.
เปลี่ยน ภาสกรวงศ์, ท่านผู้หญิง. (2564). ตำราแม่ครัวหัวป่าก์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊คส์.
วิภาดา รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2561). การสร้างคุณค่าเชิงสัญญะผ่านกลวิธีทางภาษาในนิตยสารประเภทอาหาร. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภวัฒน์ นามคำ. (2564). การประดิษฐ์สร้างวัฒนธรรมอาหารชาววังในบริบทเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวัฒนธรรมศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุภางค์ จันทวานิช. (2558). ทฤษฎีสังคมวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภาชิณีย์ คำศรีม่วง. (2558). สัญญะทางวัฒนธรรมอาหารผ่านรายการโทรทัศน์ สาระบันเทิงทางอาหาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.