ความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา

Main Article Content

ศิรินุช อินละคร
สิทธิเดช บำรุงทรัพย์

บทคัดย่อ

          ความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลมีความสำคัญต่อการบริหารการเงินส่วนบุคคล ซึ่งส่งผลต่อความกินดีอยู่ดีของบุคคล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลของนิสิตมหาวิทยาลัย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลของนิสิตมหาวิทยาลัยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความรู้การเงินส่วนบุคคลของนิสิตมหาวิทยาลัย ความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลได้แก่ ความรู้ทั่วไป การออมและการกู้ยืม ประกันภัย การลงทุน และการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขตศรีราชาจำนวน 428 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก
          ผลการวิจัยพบว่า 1) นิสิตมีความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลโดยรวมในระดับต่ำ นิสิตมีความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลในระดับปานกลางในด้านความรู้ทั่วไปและด้านประกันภัย ในขณะที่นิสิตมีความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลในระดับต่ำในด้านการออมและการกู้ยืม ด้านการลงทุน และด้านการลงทุนเพื่อการเกษียณอายุ 2) นิสิตเพศหญิงมีความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลโดยรวมสูงกว่านิสิตเพศชาย นิสิตชั้นปีที่ 2 มีความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลโดยรวมสูงกว่านิสิตชั้นปีอื่น นิสิตที่เรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องกับบริหารธุรกิจมีความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลโดยรวมและความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลในทุกด้านสูงกว่านิสิตที่เรียนสาขาอื่น และ 3) นิสิตที่เรียนสาขาที่เกี่ยวข้องกับบริหารธุรกิจจะทำให้โอกาสการมีความรู้ทางการเงินส่วนบุคคลในระดับสูงเพิ่มมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธนานพ ลิ่มสุวรรณโรจน์. (2562). การวางแผนทางการเงินของนักศึกษามัธยมปลายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (สถิติประยุกต์). คณะสถิติประยุกต์: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พัชราภา อินทพรต, วัยวุฑฒ์ อยู่ในศิล และสิรินธร สินจินดาวงศ์. (2566). ความฉลาดรู้ทางการเงินของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันระดับอุดมศึกษาเอกชน. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม. 7 (4), 1-14.

ศิรดา บุญเรือง. (2566). การศึกษาองค์ประกอบที่เสริมสร้างชีวิตทางการเงินที่ดี (Financial Well-Being) ของพนักงานเจเนอเรชั่นวายในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิรินุช อินละคร. (2559). การเงินบุคคล. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

ศิรินุช อินละคร. (2563). การวิเคราะห์ทักษะทางการเงินของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขต ศรีราชา. วารสารสหศาสตร์ศรีปทุม ชลบุรี. 6 (2), 78-90.

ศุภัคกุณ ชัยฤทธิ์ และ อรจันทร์ ศิริโชติ. (2566). อิทธิพลของความรู้ทางการเงิน การรับรู้ทางการเงิน และการรับรู้ทางสังคมที่มีต่อการวางแผนเกษียณของบุคคลวัยทํางานในจังหวัดสงขลา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9 (3), 617-630.

เอธยา ชนะภัย และสุธาวัลย์ พฤกษ์อำไพ. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อการเกษียณอายุของประชาชนเจเนอเรชั่นวาย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 11 (2), 200-208.

Cameron, M. P., Calderwood, R., Cox, A., Lim, S., & Yamaoka, M. (2014). Factors associated with financial literacy among high school students in New Zealand. International Review of Economics Education. 16, 12–21.

Chen, H., & Volpe, R. (1998). An analysis of personal financial literacy among college students. Financial Services Review. 7, 107–128.

Chinen, K., & Endo, H. (2012). Effects of attitude and background on students’ personal financial ability: A United States survey. International Journal of Management. 29 (1), 33–45.

Delfin, Lourence Jr & de Ocampo, Beata Maria & Tiu, Tomas. (2024). Does Business Education Affect Financial Literacy? Evidence from the UP Visayas College of Management Students. Philippine Academy of Management E-Journal. 7 (1), 23-45.

Ergun, K. (2018). Financial Literacy among university students: A study in eight European countries. International Journal of Consumer Studies. 42 (1), 2-15.

Hauff, J.C., Carlander, A., Garling, T., & Nicolini, G. (2020). Retirement Financial Behaviour: How Important Is Being Financially Literate?. Journal of Consumer Policy. 43 (3), 543-564.

Kapoor, J.R., Dlabay, L.R., Hughes, R.J., & Hart, M. (2019). Personal Finance. (13th Edition). New York: McGraw Hill.

Lantara, I. W., & Kartini, N. K. R. (2015). Financial Literacy among university students: Empirical Evidence from Indonesia. Journal of Indonesian Economy and Business. 30 (3), 247-256.

Lusardi, A. (2019). Financial Literacy and the Need for Financial Education: Evidence and Implications. Swiss Journal of Economics and Statistics. 155, 1-8.

Lusardi A, Messy F-A. (2023). The importance of financial literacy and its impact on financial wellbeing. Journal of Financial Literacy and Wellbeing. 1 (1), 1-11.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd Edition). New York: Harper and Row Publications.