แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ในสังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี

Main Article Content

บำเพ็ญ ไมตรีโสภณ
พชร สาตร์เงิน
ชวนพิศ จตุรภุช

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธีมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลเมืองเพชรบุรี 2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการมีส่วนร่วมกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา และ 4) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษา การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 391 คน ใช้การสุ่มแบบอาศัยความน่าจะเป็น เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และการถดถอยเชิงพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบแก่นสาระ
          ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมาก 2. ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ และระยะเวลาที่อาศัยอยู่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05, 3. ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 4. แนวทางการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาพบว่า ก) ควรมีการสำรวจและจัดทำแหล่งการเรียนรู้และแหล่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ข) ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและมีการกำหนดแผนงานร่วมกัน ค) ควรมีการสื่อสารที่ครอบคลุมทุกกลุ่ม ง) ควรสร้างแรงจูงใจในการมีส่วนร่วม และ จ) ควรเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชนในด้านการเรียนการสอน การประเมินผลกิจกรรมหรือโครงการของสถานศึกษา 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2551). มาตรฐานการจัดการศึกษาท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

ขวัญใจ ฟุ้มโอ. (2562). รูปแบบการบริหารงานเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ปร.ด. การบริหารการศึกษา). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

จิณณวัตร ปะโคทัง. (2559). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี. 15 (ฉบับพิเศษ), 1-8.

บดินทร์ เดเบาะจาโก. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบล บาตง อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ประชา แสนเย็น. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการแบบมีส่วน ร่วมของชุมชนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รจนา น้อยปลูก. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์. รป.ม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเนชั่น.

รณกร ไข่นาค และคณะ. (2562).แนวทางการสร้างความสัมพันธ์ตามหลักพุทธบริหารการศึกษาระหว่างโรงเรียนกับชุมชนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ. 6 (1), 133 -144.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560., 10 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. สืบค้น 17 กุมภาพันธ์ 2564 จาก https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/draftconstitu tion2/ewt_dl_link.php?nid=1038&filename=index

รัฐสภา. (2567). บันทึกท้ายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) ปี พ.ศ. 2562. สืบค้น 29 มีนาคม 2567 จาก https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/ elaw_parcy/ewt _dl_ link. php?nid=2789&filename=government

วาสนา ชูแสง. (2557).การด าเนินงานการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

ศราวุธ คามวัลย์ กชพร นำนาผล และดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน : กรณีศึกษาโรงเรียนหนองพอกพัฒนา ประชานุสรณ์ อำเภอหนองพอก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3. วารสารช่อพะยอม. 28 (1),79-86.

สมบัติ รัตนคร. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนา. วารสารครุศาสตร์ปริทัศน์ฯ. 3 (1), 104-112.

สุธาวี กลิ่นอุบล. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บ้านหัวเขาจีน ตำบลห้วยยางโทน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาพัฒนศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุวิมล หงส์วิไล. (2559). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลสระบัว อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Cohen, J. M. and Uphoff, N. T. (1980). Participation’s Place in Rural Development: Seeking Clarity Through Specificity. New York: World Development.

Newstrom, J. W. and Davis, K. (1993). Organizational Behavior: Human Behavior at Work. New York: McGraw - Hill.

Mikiko Nishimura. (2017). Community Participation in Educational Management in Developing Countries. Online. สืบค้น 28 พฤษภาคม 2566 จาก https://oxfordre.com/ education/display/10.1093/acrefore/9780190264093.001.0001/acrefore-97801902 64093-e-64

Reeder, W. W. (1971). Partial theories from the 25 years research program on directive factors in believer and social action. New York: McGraw Hill. Problems of Statistical. New York: McGraw Hill International Book.

United Nations. (1981). Yearbook of International Trade Statistics. United Nations: UNPress.

World Bank. (1999). Community Participation: What do we know? สืบค้น 28 พฤษภาคม 2566. https://documents1.worldbank.org/ curated/en/265491468743 695655/pdf/mul ti0page.pdf

Yamane. T. (1993). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed). Time Printers Sdn. Bnd. Singapore.