รูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต 1

Main Article Content

อธิพงษ์ เพชรสุทธิ์

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก 2) พัฒนารูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก และ 3) ประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ของรูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและข้าราชการครูโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 128 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้นสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ชำนาญการ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์นำข้อมูลภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมาวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้ได้แก่ แจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพการดำเนินงานนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) วิธีดำเนินงานของรูปแบบ 4) แนวการประเมินรูปแบบและ5) ผลที่ได้จากการใช้รูปแบบ 3) ผู้ประเมินมีความคิดเห็นต่อรูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพมหานคร:กระทรวงฯ.

ธีระ รุณเจริญ. (2550). การบรรยายรายวิชาสัมมนาการบริหารการศึกษาเรื่อง “รูปแบบและองค์ประกอบของรูปแบบ”. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

นวชล สมบูรณ์สิน. (2564). รูปแบบการจัดการนวัตกรรมทางการบริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร. (2547). เครือขายธรรมชาติความรู้และการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

ภูมิภควัธจ์ ภูมพงศ์คชศรและคณะ. (2562). รูปแบบนวัตกรรมการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 2. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ. 7 (1), 161-172.

สภาร่างรัฐธรรมนูญ. (2550). สภาร่างรัฐธรรมนูญ. พ.ศ. 2550. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567.แหล่งที่มา: http://wiki.kpi.ac.th › title=สภาร่างรัฐธรรมนูญ_2550.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). การพัฒนาทักษะชีวิตในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่มแห่งชาติ. (2549). "แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10:สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน". กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

องค์การคุรุสภา. (2540). เกณฑ์มาตรฐานผู้บริหารการศึกษาของคุรุสภา พ.ศ. 2540. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2566). แผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566- 2570). นนทบุรี: สำนักคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนัก ปปช.).

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประกันคุณภาพการศึกษา. (2547). วงรอบการประเมินคุณภาพภายนอก ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.stou.ac.th/Offices/Oaa/Dept/Dept04/ Rule_ MUA/Plan_Inter2560-2579.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://sdgs.nesdc.go.th.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา. (2549). สาระในเส้นทาง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.