การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมนามธรรมจาการวิเคราะห์รูปแบบของจิตรกรรมไทยประเพณี กรณีศึกษาจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อาจิณโจนาธาน อาจิณกิจ
ภานุ สรวยสุวรรณ
ศุภฤกษ์ คณิตวรานันท์

บทคัดย่อ

           บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมนามธรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจจากการศึกษารูปแบบและเทคนิคทางจิตรกรรมไทยประเพณี  กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การศึกษากลุ่มตัวอย่าง ในกรณีศึกษาคือจิตรกรรมในพระอุโบสถวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร เป็นวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) มีหลักการในการเลือกโดย ก. ความสมบูรณ์ของผลงาน ข. เป็นตัวแทนของศิลปะยุคต้นรัตนโกสินทร์ ค.ความหลากหลายทางศิลปะ 2.การสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้กรอบแนวคิดของกระบวนการทางศิลปะของจิตรกรรมนามธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดคุณค่าทางศิลปะจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้วิจัยและผู้ชม
           สรุปผลการวิจัยพบว่า 1.จากการวิเคราะห์จิตรกรรมต้นฉบับมีประเด็นน่าสนใจคือ สี การจัดวางองค์ประกอบ และร่องรอยวัตถุในงานจิตรกรรมไทยประเพณี 2.ผลงานสร้างสรรค์แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงกับจิตรกรรมไทยประเพณี มีลักษณะเด่นด้านการใช้สี การจัดวางองค์ประกอบของภาพ วิธีการระบาย และความแปลกใหม่ของผลงาน 3. มีความพึงพอใจต่อผลงานอยู่ในระดับมาก 4. คุณค่าของผลงานชุดนี้คือสร้างมุมมองที่แปลกใหม่ในงานจิตรกรรม มีลักษณะเฉพาะตัว และสามารถผสมผสานงานจิตรกรรมประเพณีไทยไปสู่ความเป็นนามธรรมได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชลูด นิ่มเสมอ. (2531). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อัมรินทร์.

ปรีชา เถาทอง. (2530). 36 ปี วัดสุวรรณาราม. กรุงเทพมหานคร: โรงเรียนสุวรรณารามวิทยาคม

ยุวดี พรธาราพงศ์. (2562). มิติทางวัฒนธรรมสีในงานจิตรกรรมไทยสู่จิตนาการการออกแบบความศรัทธา. Veridian. ฉบับที่ 12, 1169

สุธี คุณาวิชยานนท์. (2545). จากสยามเก่าสู่ไทยใหม่ ว่าด้วยความพลิกผันของศิลปะจากประเพณีสู่สมัยใหม่และร่วมสมัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร

Bell, K. (1914). Art: New York: Stokes

Dewey, J. (1934). Art as Experience. New York: Perigee Books.

Greenberg, C. (1961). Art and Culture: Critical Essays: Beacon Press.

Schapiro, M. (2010). Non-Objective Art. In Theory and Philosophy of Art: A Reader (pp. 45- 58), Boston: Routledge.