การพัฒนาระบบสนับสนุนมาตรฐานการผลิตสำหรับวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูป เพื่อสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากในภาคตะวันออก

Main Article Content

กฤติยา เกิดผล
ดวงมณี ทองคำ
ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมการผลิตของวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปให้เป็นไปตามมาตรฐาน และพัฒนาระบบสนับสนุนการผลิตสำหรับวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปในภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยกระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากวิสาหกิจชุมชน รวมถึงการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการมาตรฐานการผลิตในจังหวัดจันทบุรี นำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม แล้วทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ที่ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 90 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างเท่ากับ 76 โดยเก็บแบบสอบถามจำนวนทั้งหมด 80 ชุด ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบได้เท่ากับ 0.902 ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณาเพื่อหาระดับความสำคัญของปัจจัย และใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจในการจัดกลุ่มองค์ประกอบ
          ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยการส่งเสริมการผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร ด้านการผลิต และด้านสถานที่ผลิต และสามารถการพัฒนารูปแบบระบบสนับสนุนมาตรฐานการผลิตสำหรับวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปรรูปในภาคตะวันออก ประกอบด้วย 1. ด้านบุคลากรมี 3 องค์ประกอบรอง ได้แก่ ผู้นำวิสาหกิจชุมชน ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการผลิต และการปฏิบัติตามกฎระเบียบ 2. ด้านการผลิตมี 3 องค์ประกอบรอง ได้แก่ การควบคุมการผลิต การขนถ่ายวัสดุ การจัดเก็บและบำรุงรักษา และ 3. ด้านสถานที่ผลิต มี 4 องค์ประกอบรอง ได้แก่ การวางผังสถานที่ผลิต การจัดการสิ่งแวดล้อมภายนอก สภาพแวดล้อมการทำงาน และสุขอนามัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanthaburi Provincial Office. (2021). Chanthaburi Provincial Development Plan 2023-2027. Online. Retrieved from https://www.chanthaburi.go.th/files/com_news_devpro/2022-12_b87deded 14ae58a.pdf.

Charoenphong, S. (2019). The Feasibility Analysis of the Development of Production Facilities for Processed Food Contained in Ready-to-Sell Containers in Accordance with the Primary GMP Guidelines by Lamphun Entrepreneurs. Thai Journal of Public Health and Health Sciences, 2 (3), 16-28. (in Thai)

Inbueng, L., Chaisena, A., & Phakdeeying, R. (2020). Key Success Factor of Community Enterprise on Standard Community Product in Khon Kaen Province. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5 (2), 1-12. (in Thai)

Nootayasakul, C., Kerdchouay, N., Pilajun, W., & Imarom, C. (2021). Guideline for Capability Development of Quality Control of Agricultural Products Processing Community Enterprises Tumbon Khlong Khuean Chachoengsao Province. Rajabhat Rambhai Barni Research Journal. 15 (2), 25-34. (in Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). National Strategy (2018 – 2037). Online. Retrieved https://www.nesdc.go.th/download/document/SAC /NS_SumPlanOct 2018.pdf.

Oungkanussorn, W., & Prasertsang, C. (2021). Development guidelines for the operation of community enterprises into the GMP: A Case Study of Ban Kong Nang Farmer Housewives Amphoe Tha Bo Community enterprises. Journal of Environmental and Community Health, 6 (3), 72-80. (in Thai)

Permchart, N., Kerdpitak, C., & Budsaba, K. (2018). A Business Operational Model of Community Enterprises for Agricultural Products to Escalate the Commercial Quality. Muban Chombueng Rajabhat University Research Journal (Humanities and Social Sciences), 6 (2), 21-31. (in Thai)

Srisamer, K. (2018). Development of Processed Food Producers According to Primary GMP in Prakonchai District, Buriram. Journal of Health Science of Thailand, 27(4), 634–643. (in Thai)

Trade Policy and Strategy Office. (2024). The potential of Community Enterprises Development to Enhance the Grassroots Economy. Online. Retrieved from https:// tpso.go.th/document/2404-0000000003.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper & Row, Publishers Inc.