แนวทางการบริหารจัดการภาวะวิกฤตของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาและวิเคราะห์กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาในภาวะวิกฤติในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 (2) ศึกษาผลกระทบของภาวะวิกฤติต่อการบริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 และ (3) เสนอแนวทางการบริหารจัดการภาวะวิกฤตของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 เป็นการวิจัยผสมวิธีแบบพหุระยะ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 21 คน ตามแนวคิดของ Brand et al. (2014 : 5) การวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 จำนวน 170 โรงเรียน ตามแนวคิดของ Yamane (1973 : 38) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการอภิปรายสนทนากลุ่ม และแบบตรวจสอบรายการประเมินอภิมาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. กลยุทธ์การบริหารจัดการสถานศึกษาในภาวะวิกฤตในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรทางการศึกษา 2) กลยุทธ์ในการสื่อสารกับผู้ที่เกี่ยวข้อง 3) กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และ 4) กลยุทธ์ในการรักษาความปลอดภัยและสุขภาพ
2. ผลกระทบของภาวะวิกฤตต่อการบริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 ได้แก่ กลยุทธ์ในการจัดการทรัพยากรทางการศึกษา คือ ด้านการบริหารจัดการกลยุทธ์ในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง คือ ด้านการส่งเสริมและพัฒนาบุคลากร กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา คือ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา และกลยุทธ์ในการรักษาความปลอดภัยและสุขภาพ คือ ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย
3. แนวทางการบริหารจัดการภาวะวิกฤตของสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 พบว่า ประกอบด้วย แนวทางเชิงนโยบาย จำนวน 12 ข้อ และแนวทางเชิงปฏิบัติ จำนวน 36 ข้อ
Article Details
References
กรมวิชาการ. (2564). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สุด : แนวทางสู่การปฏิบัติ เอกสารชุดปฏิรูปการเรียนรู้ลำดับที่ 2 โครงการปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). สรุป 13 ผลกระทบจากการปิดโรงเรียนยุค COVID-19. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2563. แหล่งที่มา : https://www.eef.or.th/infographic-17-06-20/
จริยา โกเมนต์ และ เฉลิมชัย ปัญญาดี. (2565). รูปแบบการตัดสินใจและการตอบสนองต่อภาวะวิกฤตของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ประเทศไทย กรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19). วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 20 (3), 5-33.
ทนากร ศรีก๊อ. (2563 ก). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 20 (3), 75-87.
ทนากร ศรีก๊อ. (2563 ข). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 20 (3), 75-87.
ทนากร ศรีก๊อ. (2563 ค). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 20 (3), 75-87.
ทนากร ศรีก๊อ. (2563 จ). กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาในภาวะวิกฤติของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 1. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต. 20 (3), 75-87.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2567). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 20). นนทบุรี: เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2555). วิธีีการที่ถูกต้องและทันสมัยในการกำหนดขนาดตัวอย่าง. เอกสารที่ไม่มีการตีพิมพ์. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.), กรุงเทพมหานคร: ประเทศไทย.
นัฑ ผาสุข และคณะ. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
นพพงษ ์ บุญจิตราดุลย์. (2557). หลักการและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: ตีรณสาร.
นำชัย ชีววิวรรธน์. (2563 ก). COVID-19 โรคระบาดแห่งศตวรรษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มติชน.
นำชัย ชีววิวรรธน์. (2563 ข). COVID-19 โรคระบาดแห่งศตวรรษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มติชน.
นำชัย ชีววิวรรธน์. (2563 ค). COVID-19 โรคระบาดแห่งศตวรรษ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มติชน.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
เบญจวรรณ เรืองศรี, อาลิษา วิเศษกาญจน์, ศุภมาส นุ่นสกุล และ วศิณีย์ รุ่งรังสี. (2564). การจัดการเรียนการสอนในยุค New Normal Covid-19 โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบ On Site. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 10 (2), 29-45.
ประทีป ไชยเมือง. (2565). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พยอม วงศ์สารศรี. (2558). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอนที่ 74. หน้า 1-23.
พลพิพัฒน์ วัฒนเศรษฐานุกุล. (2566). แนวทางการบริหารที่ส่งเสริมความสำเร็จของโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค. (2564). สำรวจผลกระทบหลังโควิด-19 จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการศึกษาโลก. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: https://thaipublica.org/2021/01/exploring-the-effects-of-covid-19-the-turning-point-of-world-education/
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2558). วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน. (พิมพ์ครั้งที่ 35). กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วรรณภร ศิริพละ. (2559). รูปแบบการพัฒนาครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสยาม.
วิโรจน์ ชัยมูล, วศิน เพิ่มทรัพย์, ปัทมาภรณ์ พิมพ์หานาม, สุพรรษา ยวงทอง และ ภาสกร พาเจริญ. (2563). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพมหานคร: โปรวิชั่น.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). การสร้างเสริมสุขภาพ (Health Promotion). ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.thaihealth.or.th/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 OBEC’S POLICY 2020. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. (2564). รูปแบบการจัดการเรียนการสอน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 4 มกราคม 2564. แหล่งที่มา: http://www.nst3.go.th/
เสาวนีย์ กูณะกูง และ ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน. (2558 ก). การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียนของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1 อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10 (3), 249–259.
เสาวนีย์ กูณะกูง และ ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน. (2558 ข). การสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินงานโรงเรียนของกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาแม่แตง 1 อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10 (3), 249–259.
Brand, Jager, & Lategan. (2014). The Delphi Technique As A Tool To Evaluate A Concept CPD. Framework To Be Implemented By Medical Technologists In South Africa. Interdisciplinary Journal. 6 (2), 1-11.
Creswell, J. W. (2018). Research Design: Qualitative, Quantitative, and Mixed Methods Approaches (5th ed.). New York: Sage Publications
Yamane, T. (1973). STATISTICS An Introductory Analysis. (3rd ed). New York: Harper & Row.