มาตรการทางกฎหมายในการลดค่าใช้จ่ายภายในเรือนจำ จากการจัดเลี้ยงอาหาร

Main Article Content

อัครพงศ์ บุญแท้

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการลงโทษผู้กระทำความผิดกฎหมายอาญา 2. เพื่อศึกษาปัญหาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายภายในเรือนจำในประเทศไทย และ 3. เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรการทางกฎหมายในการลดค่าใช้จ่ายภายในเรือนจำจากการจัดเลี้ยงอาหารของประเทศไทย
          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาข้อมูลจากเอกสารเป็นหลัก โดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ตลอดจนสืบค้นข้อมูลจาก ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ทั้งในประเทศไทย พร้อมนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามารวบรวม และทำการวิเคราะห์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญที่เกิดขึ้น


ผลการวิจัยพบว่า มาตรการทางกฎหมายในการลดค่าใช้จ่ายภายในเรือนจำจากการจัดเลี้ยงอาหาร
มีผลมาจากการที่เรือนจำมีผู้ต้องหาเป็นจำนวนมากทำให้กรมราชทัณฑ์ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ต้องขัง แก่ การที่เรือนจำต้องจัดสวัสดิการให้แก่ผู้ต้องขังเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายภายในเรือนจำ เช่น การจัดเลี้ยงอาหาร การได้รับการศึกษา การได้รับเงินรางวัลตอบแทนจากการทำงาน, การใช้กฎหมายอาญาเกินความจำเป็น และการกระทำความผิดซ้ำ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเห็นควรลดค่าใช้จ่ายของเรือนจำจากการจัดเลี้ยงอาหาร โดยอาจมีการลดค่าใช้จ่ายรายหัวลง แต่ต้องมีการคำนวณคุณค่าทางโภชนาการที่เพียงพอกับการใช้พลังงาน และหากผู้ต้องขังคนใดที่มีความต้องการจะทานอาหารที่นอกเหนือจากการที่เรือนจำจัดให้ก็ยังสามารถใช้เงินที่ญาติฝากให้ตามระเบียบกรมราชทัณฑ์ เพื่อซื้ออาหารจากร้านค้าของเรือนจำ และการให้ผู้ต้องขังทำงาน และได้รับเงินรางวัลตอบแทนจากการทำงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมราชฑัณฑ์. (2567). รายงานสถิติ ผู้ต้องขังทั่วประเทศ แก้ไขครั้งล่าสุด 2567. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: http://www.correct.go.th/rt103pdf/report_index.php.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2551). คำอธิบายกฎหมายอาญาภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: พลสยาม พริ้นติ้ง.

ชวลิต กลิ่นแข และคณะ. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำของจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิชาการ สถาบันวิทยาการจัดการแห่งแปซิฟิค. 6 (3), 253-261.

ณัฐฐ์วัฒน์ สุทธิโยธิน. (2554). ทฤษฎีการลงโทษ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 27 กันยายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.stou.ac.th/schools/slw/upload/41716_6.pdf.

ณัฐวุฒิ วัฒนผลิน และ ศิริพงษ์ โสภา. (2567). มาตรการทางกฎหมายในการพักโทษนักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต. Journal of Roi Kaensarn Academi. 9 (8), 511-527.

ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม. (2564). หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญา ภายใต้โครงการสนับสนุนสารสนเทศเพื่อการทำงานของสมาชิกรัฐสภา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

สนุก. (2566). ครอบครัวสุดแร้นแค้น ไข่ 1 ฟอง ผัดข้าวกิน 10 ชีวิต เด็กๆ อยากกินไก่ทอดจนเก็บไปฝัน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.sanook.com/ news/898 6002/.

สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ และคณะ. (2562). การลงโทษผู้กระทำผิดทางอาญา. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://rsucon.rsu.ac.th/files/proceedings/nation2019/ NA19-109.pdf.

สำนักข่าวอิศรา. (2566). เจาะงบประมาณคุก : ส่องค่าใช้จ่ายคุมขัง ผู้ต้องโทษ 1 ราย รัฐต้องใช้เงินเท่าไหร่?. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://isranews.org/article/isranews-scoop/114919-isranews-299.html.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2566). งบประมาณโดยสังเขป ฉบับปรับปรุง ตามพระราชบัญญัติรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.moj.go.th/attachments/20230407152549_58605.pdf.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2563). ผู้ต้องขังล้นเรือนจำ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2567. แหล่งที่มา: https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ download/article/article_20200608145458.pdf.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2567). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2566 ทั่วราชอาณาจักร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2567. แหล่งที่มา: https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/ survey_detail/2024/20240702120458_45133.pdf.

สุภัชลี เทพหัสดิน ณ อยุธยา. (2561). กฎหมายอาญาเฟ้อ. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 44 (2),

-33.

อนันต์ ลิขิตธนสมบัติ. (2557). มาตรการการลงโทษทางอาญาแก่ผู้กระทำความผิดในคดีสิ่งแวดล้อม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มิถุนายน 2567. แหล่งที่มา: https://library.coj.go.th/pdf-view. html?fid=1552&table=files_biblio