การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดกระบี่

Main Article Content

ธเนศ ขจรสุวรรณ์
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

            รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยวิจัยแบบผสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และเพื่อตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยออกแบบการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่      1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่างเลือกจากประชากรทั้งหมด จำนวน 85 คน โดยใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ 2) สร้างรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 และ     3) ตรวจสอบรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 โดยจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและการสนทนากลุ่ม โดยใช้แบบสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ และแบบสนทนากลุ่ม
           ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบที่ 2 การสร้างแรงบันดาลใจ มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของสภาพที่พึงประสงค์สูงสุดเป็นอันดับแรก สภาพปัจจุบันของทักษะผู้นำในศตวรรษที่ 21 มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าดัชนีลำดับความสำคัญเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทักษะที่ 6 ทักษะการแก้ปัญหา มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของสภาพที่พึงประสงค์สูงสุดเป็นอันดับแรก 2) สร้างรูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดกระบี่ 3) รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนในจังหวัดกระบี่มีความถูกต้อง มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ทุกรายการ สามารถนำไปใช้ได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกอร สมปราชญ์. (2558). หลักและทฤษฎีการบริหารการศึกษา. ขอนแก่น: การบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรชัย เจดามาน. (2560). ภาวะผู้นำยุค 4.0 ในพลวัตศตวรรษที่ 21. ออนไลน์. 16 กุมภาพันธ์ 2566. แหล่งที่มา: http://personnel.obec.go.th/hris-th/ebook/leader4/

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจวิทยาลัย.

ภาวินทร์ ณ พัทลุง. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเอกชนสู่ความเป็นเลิศ. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

วิจารณ์ พานิช. (2558). แนวโน้มการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. สงขลา: สำนักงานเลขานุการคณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของประเทศไทย โดยเวทีเศรษฐกิจโลก พ.ศ. 2558-2559. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

สิรินาถ ปัทมาวิไล. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

เอกวัส มากสุข. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในทศวรรษหน้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

Humphrey, B. and J. Stokes. (2000). The 21st century supervisor : Nine essential skills for frontline leaders. San Francisco: Jossey-Bass/Pfeiffer.

Lee, D.M. (2008). Essential Skill for Potential School Administrators: A Case Study of One Saskatchewan Urban School Division. University of Saskatchewan: Saskatoon.

Yukl. G.A. (1989). Leadership in Organizations. (2nd ed). Englewook Cliffs, NJ: Prentice Hall.