รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วม ในจังหวัดอุดรธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมในจังหวัดอุดรธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมใน จังหวัดอุดรธานี และ3) เพื่อประเมินรูปแบบและกิจกรรมการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมใน จังหวัดอุดรธานี โดยใช้วิธีการศึกษาด้วยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 2,314 คน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 20 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า
1) การบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมในจังหวัดอุดรธานี พบว่า สภาพปัจจุบัน ของรูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมในจังหวัดอุดรธานี ค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =3.43, S.D.= 0.07) นอกจากนั้นสภาพที่พึงประสงค์รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมในจังหวัดอุดรธานี มีค่าเฉลี่ย โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.68, S.D.= 0.13) และความต้องการความจำเป็น โดยระบุความต้องการความจำเป็นที่มีความสำคัญมากที่สุดและมีความเร่งด่วนที่ต้องได้รับการพัฒนาก่อนรูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมในจังหวัดอุดรธานี ซึ่งพิจารณาจากค่าดัชนี PNImodified =0.40
2) การพัฒนารูปแบบและกิจกรรมการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมใน จังหวัดอุดรธานี พบว่า 1) โครงการสามารถส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม หรือเป็นประโยชน์ต่อชุมชน รายละเอียดครบถ้วน 2) มีการจัดสรรงบประมาณในการจัดการอย่างเพียงพอ 3) มีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูและและควบคุมการปฏิบัติงาน และ 4) การจัดทำแผนงานหรือโครงการเพื่อพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่อง 5) เปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นในการวางแผนงานในด้านต่างๆนอกจากนี้ประชาชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการปลูกสร้างสิ่งต่างๆภายในวัดมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมประชุมการแก้ไขปัญหาของวัดอย่างสม่ำเสมอตลอดถึงการวางแผนจัดสรรการเงินของวัดค่าใช้จ่ายของวัดมีหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูและและควบคุมการปฏิบัติงาน
3) การาประเมินรูปแบบและกิจกรรมการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมใน จังหวัดอุดรธานี พบว่า (ชื่อรูปแบบ,วัตถุประสงค์,หลักการ/แนวคิด) โดยสามารถพิจารณา ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของ รูปแบบการบริหารจัดการอุทยานการศึกษาของวัดแบบการมีส่วนร่วมในจังหวัดอุดรธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด คือความเป็นไปได้ ( = 4.68, S.D. = 0.53) ลองลงมา ความเหมาะสม ( = 4.68, S.D. = 0.42) และ ความเหมาะสม ( = 4.68, S.D. = 0.42
Article Details
References
นุชา สระสม. (2560). การมีส่วนร่วมในการบริหารแบบบ้าน วัด โรงเรียน ของโรงเรียนวัดสังกัดกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พนม พงษ์ไพบูลย์. (2548). คิดเป็นการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.
พระครูสุนันทกิจโกศล และ สุวัฒน์ สุวฑฺฒโน. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการวัดให้เป็นอุทยานการศึกษาในจังหวัดสระบุรี. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานภัส ปทุมปุตฺโต (เมืองมูล), พระครูใบฎีกาอภิชาตธมฺมสุทฺโธ และ พัชราวลัย ศุภภะ. (2549). การพัฒนาวัดต้นแบบในการจัดการอุทยานการศึกษาของวัดพรหมรังษีเขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร. รายงานการวิจัย.
ศราพร วาทะสัตย์. (2539). อุทยานการศึกษาในวัดตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พระภิกษุ และประชาชน. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
สิริวัฒน์ คาวันสา. (2544). เอกสารประกอบกรฝึกอบรมหลักสูตรโครงการเสริมสร้างความรู้ถวาย พระสงฆ์เพื่อการพัฒนาสังคมไทย. สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุนทร สุนันท์ชัย. (2514). เทคนิคและวิธีสอน วิชาสังคมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สหบัณฑิต.
สุรพล พรมกุล. (2554). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
สุวิมล โขมโนทัย. (2560). การร่วมมือกันระหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน ในการพัฒนาโรงเรียนวิถีพุทธ. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุดร ขัติยพงศ์. (2537). การศึกษาวิธีดำเนินการจัดอุทยานการศึกษาในศาสนสถานจังหวัดนครราชสีมา. รายงานการวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2563). ภาวะผู้นำแบบยั่งยืนของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดขอนแก่น. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6 (3), 634-644