การบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยง 2)ศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรีเป็นสถาบันพี่เลี้ยง กลุ่มผู้ให้ข้อมูลได้แก่ อาจารย์ที่รับผิดชอบโครงการ 20 คน ครู/ผู้บริหารโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 20 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ 4 ฉบับ นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา จัดประชุมสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์และวิจารณ์ตามประเด็นที่กำหนด
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพการบริหารจัดการโครงการ มีการจัดอบรม 20 โครงการ โดยเนื้อหาหลักที่จัดอบรมมี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการผลิตสื่อและการใช้เทคโนโลยี ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านทักษะการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และด้านจิตวิทยาการศึกษา มีการบริหารจัดการโครงการอย่างเป็นระบบโดยใช้วงจรคุณภาพ PDCA ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการโครงการในระดับมากที่สุด 2) ปัจจัยที่ส่งเสริม คือด้านบุคลากรมีความรับผิดชอบและมีความสามารถในการบริหารจัดการเป็นอย่างดี ผู้บริหารและครูในโรงเรียนเครือข่ายให้ความร่วมมือดี วิทยากรมีความรู้ความสามารถ มีงบประมาณสนับสนุนจากภาครัฐ การบริหารจัดการที่เป็นระบบ การอบรมที่เน้นปฏิบัติ และด้านสถานที่ของโรงเรียนเครือข่ายสะดวกต่อผู้เข้าร่วม ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคที่พบ ได้แก่ ด้านบุคลากรครู/ผู้บริหารที่มีภารกิจอื่นเข้าร่วมไม่ได้ การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า และด้านอุปกรณ์อินเตอร์เน็ตที่ช้าไม่พร้อมในการทำกิจกรรมในการอบรม
Article Details
References
ณรงค์ อภัยใจ. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการศึกษา เพื่อส่งเสริมอาชีพสำหรับเด็กด้อยโอกาสโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาผู้นำทางการศึกษาและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นิศา ชูโต. (2545). การวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: แม็ทส์สปอยส์.
นพรัตน์ อรรคโชติ. (2562). รูปแบบการบริหารโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวง ศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program: EP) ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2563. แหล่งที่มา: http://tdc.thailis. or.th/tdc/browse.php?.
น้ำฝน กันมา. (2560). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: กรณีศึกษาพะเยาโมเดล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์. 3 (2), 103-115.
พัชรี ทองอำไพ และ มนตรี แย้มกสิกร. (2560). การบริหารโครงการนวัตกรรมการพัฒนาครู: กรณีศึกษาโครงการวิจัยและพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ โดยใช้ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ สู่มาตรฐานในเครือข่ายโรงเรียน ELS: English for Integrated Studies ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วรรณพันธ์ อ่อนแย้ม. (2561). ปัจจัยความสำเร็จและศึกษาปัญหาการบริหารจัดการโครงการวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพัฒนางานประจำสู่การวิจัย. 6, 1-8.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงโรงเรียน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.hednetucd.chula.ac.th/u-school mentoring/ home01/.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2561). โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการพัฒนาท้องถิ่น.ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม 2563. แหล่งที่มา: http://www.hednetucd.chula.ac.th/u-school mentoring/news-01/.
สุนันทา แก้วสุข. (2552). รูปแบบการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาที่ผ่านการประเมินในระดับดี: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ดุษฎีนิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร
การศึกษา. คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Brown, W.B., & Moberg, D.J. (1980). Organization theory and management: A macro approach. New York: John Wiley and Sons.
Eisner, E. (1976). Educational connoisseurship and criticism: Their form and functions in education evaluation. Journal of Aesthetic Education. 10, 192-193.