กลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานของนักจิตวิทยาในระบบสุขภาพปฐมภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลไกการขับเคลื่อนการดำเนินงานของนักจิตวิทยาในระบบสุขภาพปฐมภูมิและปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ วิธีการวิจัยมี 2 ขั้นตอนคือ วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ศึกษาจากข้อมูลทุติยภูมิและข้อมูลปฐมภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary care unit: PCU) หรือ เครือข่ายบริการปฐมภูมิ (Network primary care unit: NPCU)ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ 116 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.87 - 0.99ความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.96 เก็บข้อมูลด้วยช่องทางออนไลน์ผ่าน Google form วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย ได้แก่ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน และเครือข่ายนอกระบบสุขภาพในพื้นที่ เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลโดยตรงจาการทำ Focus group วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) กลไกการพัฒนานักจิตวิทยาในระบบสุขภาพปฐมภูมิ ได้แก่ กลไกเชิงโครงสร้าง กลไกเชิงกฎหมาย กลไกเชิงบริบทพื้นที่ และกลไกหนุนเสริม 2) ปัจจัยความสำเร็จในการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิในประเทศไทยประกอบด้วย 5 ปัจจัยหลัก ได้แก่ การจัดการระบบและนโยบายที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนทางสังคมจากชุมชนและครอบครัว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการฝึกอบรมบุคลากรสุขภาพจิต การสร้างความรู้และความตระหนักในชุมชนเพื่อลดการตีตรา และการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วย โดยผสมผสานปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้การขับเคลื่อน
งานสุขภาพจิตในระดับปฐมภูมิประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน
Article Details
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). นโยบายและยุทธศาสตร์ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 - 2580. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แผนกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2566 - 2575). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กรมสุขภาพจิต. (2565). รายงานประจำปี 2565: การพัฒนาระบบสุขภาพจิตชุมชน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2564 - 2573. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). รายงานประจำปี 2023: การพัฒนาระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2564). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและจิตเวชในประเทศไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 66 (3), 227 - 240.
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2023). การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตในประเทศไทย: ความท้าทายและโอกาส. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 31 (2), 112-128.
นงลักษณ์ พะไกยะ, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร และ กฤษฎา แสวงดี. (2024). นวัตกรรมการบริหารทรัพยากรบุคคลในระบบสุขภาพจิต: บทเรียนจากนานาชาติ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 18 (1), 32-48.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2565). หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พรเทพ ศิริวนารังสรรค์. (2566). นโยบายสาธารณะกับการพัฒนาระบบสุขภาพจิตชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วชิระ เพ็งจันทร์, สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล และ พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. (2022). การกระจายตัวของบุคลากรสุขภาพจิตในประเทศไทย: สถานการณ์ปัจจุบันและแนวทางการพัฒนา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 67 (3), 245-260.
วิชัย มั่นคง และคณะ. (2565). การศึกษาสถานการณ์และความต้องการกำลังคนด้านสุขภาพจิตในประเทศไทย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 52 (2), 135 - 150.
วิชัย เอกพลากร และคณะ. (2564). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6
พ.ศ. 2562 - 2563. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
ศิริพร จิรวัฒน์กุล. (2563). สุขภาพจิตชุมชน: แนวคิดและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริลักษณ์ สุขสบาย. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อการคงอยู่ของนักจิตวิทยาในระบบสุขภาพปฐมภูมิ. วารสารพยาบาลศาสตร์. 40 (4), 68 - 82.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2565). การประเมินผลการดำเนินงานด้านสุขภาพจิตในระบบสุขภาพปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สมชาย ศรีสมบัณฑิต. (2023). การบริหารทรัพยากรบุคคลในระบบสุขภาพจิต: กรณีศึกษาประเทศไทย. วารสารการบริหารสาธารณสุข. 15 (2), 78-95.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2565). คู่มือการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2565). แนวทางการพัฒนาระบบราชการ 4.0. กรุงเทพมหานคร: สำนักงาน ก.พ.ร.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2566). ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 3
พ.ศ. 2565. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานทรัพยากรสาธารณสุข ประจำปี 2565. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2566). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). รายงานการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามพระราชกำหนดว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2565). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2566). คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2566. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
สมาคมจิตวิทยาคลินิกไทย. (2564). รายงานสถานการณ์วิชาชีพจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย ปี 2564. กรุงเทพมหานคร: สมาคมจิตวิทยาคลินิกไทย.
สมหญิง ดีใจ. (2566). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาระบบสุขภาพจิตปฐมภูมิ: กรณีศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 41 (3), 28 - 40.
Creswell, J. W., & Creswell, J. D. (2018). Research design: Qualitative, quantitative, and mixed methods approaches (5th ed.). SAGE Publications.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A.-G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods. 39 (2), 175-191.
McDaniel, S. H., Grus, C. L., Cubic, B. A., Hunter, C. L., Kearney, L. K., Schuman, C. C., ...
& Johnson, S. B. (2014). Competencies for psychology practice in primary care. American Psychologist. 69 (4), 409.
Turner, R. C., & Carlson, L. (2003). Indexes of Item-Objective Congruence for Multidimensional Items. International Journal of Testing. 3 (2), 163-171.