ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของเจเนอเรชั่นซีในจังหวัดตรัง

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ ปริสุทธิ์กุล

บทคัดย่อ

          การนำนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และรัฐบาลดิจิทัลไปปฏิบัติจะสำเร็จไม่ได้หากประชาชนในประเทศขาดความรู้เรื่องความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยเฉพาะเจเนอเรชั่นซี ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของเจเนอเรชั่นซีในจังหวัดตรัง 2.ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของเจเนอเรชั่นซีในจังหวัดตรัง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 384 คน สุ่มข้อมูลแบบโควต้า ในแต่ละเขตอำเภอ และเลือกตัวอย่างแบบเป็นระบบ ใช้แบบสอบถามปลายปิด มีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ทุกข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis, MRA)               ผลวิจัยพบว่า 1.เจเนอเรชั่นซีมีความเป็นพลเมืองดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับสูงที่สุดเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านกิจกรรมบนสื่อสังคมดิจิทัลสูงที่สุด รองลงมาคือด้านจริยธรรมทางดิจิทัล ด้านการใช้งานระบบดิจิทัล ตามลำดับและน้อยที่สุดคือด้านการรักษาอัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง และ 2.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 คือด้านการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (X3) ด้านการรับรู้ความสามารถดิจิทัลของตนเอง(X2) และด้านทัศนคติ (X1) ซึ่งพบว่าทั้ง 3 ปัจจัยสามารถร่วมกันพยากรณ์ความเป็นพลเมืองดิจิทัลได้ร้อยละ 68.3 จากผลการวิจัย การใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การรับรู้ความสามารถดิจิทัลของตนเอง และทัศนคติ เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของเจเนอเรชั่นซีในประเทศไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2567. แหล่งที่มา: www.etda.or.th/getattachment/ 78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx

กรมอนามัย. (2565). ประชากรทะเบียนราษฏร์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2567. แหล่งที่มา: http://dashboard.anamai.moph.go.th/population/pop-all/changwat?year=2022&cw=92

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2566). สถิติสำหรับงานวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จุไรรัตน์ ทองคำชื่นวิวัฒน์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะความฉลาดทางดิจิทัลกับพฤติกรรม การเป็นพลเมืองดิจิทัลของเยาวชนไทยใน กรุงเทพมหานคร. วารสารนิเทศ ศาสตรปริทัศน์. 25 (3), 232-243.

ชูชิต ชายทวีป, พิศณี พรหมเทพ และ ธนิษฐา สมัย. (2565). ทักษะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 16 (3),147-156

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2567). ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสาร มนุษยศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 43 (1), 43-53.

พงศ์สัณห์ ศรีสมทรัพย์ และปิยะนุช เงินคล้าย. (2550). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รยากร สุวรรณ์, สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล, ธรรมพร ตันตรา และ สถาพร แสงสุโพธิ์. (2566). การศึกษาคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาชิกสภาเยาวชน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 6 (2), 1–16.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฏีและการประยุกต์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Best, J. w. (1977). Research in Education. (3rd ed). New jersey: Prentice hall Inc,

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. Macmillan.

Choi, M., & Park, H. J. (2023). Korean adolescents’ profiles of digital citizenship and its relations to internet ethics: implications for critical digital citizenship education. Cambridge Journal of Education. 53 (4), 567–586. https://doi.org/10.1080/0305764X.2023.2191929

Jamal B, & Rizvi S. (2023). Analysis of the Digital Citizenship Practices among University Students in Pakistan. Pakistan Journal of Distance & Online Learning. 9 (1), 50-68 http://doi.org/ 10.30971/pjdol.v9i1.1399

Liu,Y.,&Liu,Q. (2021). Factors infuencing teachers’ level of digital citizenship in underdeveloped regions of China. South African Journal of Education. 41 (4), https://doi.org/10.15700/ saje.v41n4a1886

Paul, R., & Elder, L. (2006). The thinker's guide to understanding the foundations of ethical reasoning. Foundation Critical Thinking.

Ribble, M. (2015). Digital citizenship in schools: Nine elements all students should know. International Society for Technology in Education.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1976). On the use of content specialists in the assessment of criterion-referenced test item validity.

Ruenphongphun, P., Sukkamart, A., & Pimdee, P. (2022). Developing Thai undergraduate online digital citizenship skills (DCS) under the New Normal. Journal of Higher Education Theory and Practice. 22 (9), 370-385. https://doi.org/10.18844/wjet.v13i3.5937

Suphattanakul, O., Maliwan, E., Eiamnate, N., & Thadee, W. (2023). Developing Digital Citizenship in Municipality: Factors and Barriers. International Journal of Sustainable Development & Planning. 18 (5), 1499-1505.