สืบสานตำนานเสื่อกกจันทบูร ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานอัตลักษณ์วิถีชุมชน กรณีศึกษาบ้านท่าแฉลบ ตำบลบางกะจะ จังหวัดจันทบุรี โดยผ่านกระบวนการจัดการความรู้

Main Article Content

ฬิฏา สมบูรณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ  2) เพื่อสร้างกระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานอัตลักษณ์วิถีชุมชน กรณีศึกษาบ้านท่าแฉลบ ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี  3) เพื่อถ่ายทอดการสืบสานตำนานเสื่อกกจันทบูร ภูมิปัญญาท้องถิ่น บนฐานอัตลักษณ์ วิถีชุมชน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอเสื่อกก บ้านท่าแฉลบ ตำบลบางกะจะ จังหวัดจันทบุรี จำนวน 20  คน โดยใช้หลักเกณฑ์การคัดเลือก คือ 1) มีจิตอาสา 2)มีการทอเสื่อกกอย่างต่อเนื่อง 3) มีประสบการณ์ในการทอเสื่อ 4) มีผลงานการทอเสื่อกกเป็นที่ยอมรับของชุมชน เครื่องมือที่ใช้ครั้งนี้คือ สัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
          1. เข้าร่วมโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทำให้วิถีชุมชนดั้งเดิมมีความยั่งยืน
          2. การสร้างกระบวนการจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานอัตลักษณ์วิถีชุมชนบ้านท่าแฉลบ    ใช้กระบวนการจัดการความรู้ 5 ขั้นตอน คือ รวมใจ ร่วมร่างเป้าหมาย รวมประสบการณ์ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมแบ่งปัน รังสรรค์และใช้ประโยชน์
          3.ผลถ่ายทอดการสืบสานตำนานเสื่อกกจันทบูร ภูมิปัญญาท้องถิ่น บนฐานอัตลักษณ์ วิถีชุมชน      ได้หนังสือที่รวบรวมองค์ความรู้ แบ่งออกเป็น 4 บท ดังนี้ บทที่ 1 ตำนานเสื่อจันทบูรและวิถีดั้งเดิม บทที่ 2 การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นบนฐานอัตลักษณ์ชุมชน การทอเสื่อจันทบูร บทที่ 3 กว่าจะมาเป็นลายเสื่อจันทบูร บทที่ 4 โจทย์ยากสร้างความท้าทาย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกสุม เจริญรวย. (2551). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2560). วิจัยเชิงคุณภาพไม่ยากอย่างที่คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 7). นครปฐม: สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล.

นงภัส ศรีสงคราม. (2547). การสื่อสารทางวัฒนธรรมด้านอัตลักษณ์และสัญยะวิทยาของชาวไทยโซ่ง หมู่บ้านดอนเตาอิฐ จังหวัดกาญจนบุรี. ปริญญานิพนธ์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

บุศรินทร์ สายรัตน์ และ จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า. (2563). การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการถ่ายทอดความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกกของจังหวัดจันทบุรี. วารสารการวัดผลการศึกษา. 37 (101), 104-113.

วรรณดี สุทธินรากร. (2561). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพมหานคร: สยามปริทัศน์.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.

สุกัญญา ดวงอุปมา และ ภัทรพร ภาระนาค. (2556). การถ่ายทอดองความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก.

วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 1 (3), 195-203.

สุเทพ สุสาสนี. (2553). การศึกษาผลิตภัณฑ์จากกกในตำบลบางสระเก้า อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุภารีย์ เถาว์วงศ์ษา. (2565). การศึกษาอัตลักษณ์การทอเสื่อกกจันทบูรในอดีต: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมท้องถิ่นและหอจดหมายเหตุแห่งชาติจันทบุรี. วารสารศิลปกรรมบูรพา. 25 (1), 167-186.

Bartol, Kathryn M. and David C.Martin. (1998). Management. 4th ed. New York: McGraw-Hill Company Inc.

Davenport, T.H.,& Prusak, L. (2000). Knowledge management case book:Siemens best practices. 2nd ed. New York: Wiley,

Marquardt, M.J. (1996). Building the learning organization. New York: McGraw-hill.

Nonaka, I. & Takeuchi, H. (2001). Knowledge management: Classic and contemporary works. London: The MIT Press.

Senge, P.M. (2001). The fifth discipline: The art and Practice of the learning organization. New York: Doubleday.

Wiig, K. (1993). Knowledge Management Foundations. Arlington, TX: Schema Press.