การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานของสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้มีภาวะพึ่งพิงในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กนิษฐา ช้างเสวก
สานิต ศิริวิศิษฐ์กุล
พิศมัย จารุจิตติพันธ์

บทคัดย่อ

            สถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง เนื่องจากเป็นธุรกิจรายย่อย  ที่ผ่านมาสามารถเปิดได้อย่างเสรีโดยไม่มีการขึ้นตรงต่อหน่วยงานใดที่จะมารับผิดชอบ  และยังไม่มีกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานของการประกอบธุรกิจไว้โดยเฉพาะ จึงมีการร้องเรียนบ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุถูกทำร้าย  บางครั้งเกิดอุบัติเหตุหกล้มหรือตกเตียง  เพราะไม่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี  (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า,2564) ปัจจุบันได้มีการบังคับใช้ พระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 และกฎกิจการกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2564 เข้ามาควบคุมดูแลมาตรฐานในสถานประกอบการซึ่งประสงค์จะประกอบกิจการต้องผ่านมาตรฐานตามที่กระทรวงกำหนด การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยองค์กรและปัจจัยการจัดการที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงในกรุงเทพมหานคร รวมถึงข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาผลการดำเนินงานของสถานประกอบการ ประชากรคือสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงในกรุงเทพมหานครที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข จำนวน 169 แห่ง โดยการเปิดตารางเครซี่และมอร์แกน ใช้การสุ่มแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) ตามด้วยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวและวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ
           ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานประกอบการที่มีลักษณะและทุนจดทะเบียนของสถานประกอบการแตกต่างกันมีผลการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสถานประกอบการที่มีระยะเวลาดำเนินกิจการและด้านประสบการณ์ของผู้ดำเนินการของสถานประกอบการแตกต่างกันมีผลการดำเนินงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ปัจจัยการจัดการทั้ง 4 ด้าน สามารถร่วมกันอธิบายการเปลี่ยนแปลงของผลการดำเนินงานของสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงในกรุงเทพมหานครโดยรวม ได้ร้อยละ 67.7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเรียงลำดับอิทธิพลพบว่า ปัจจัยการจัดการด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ และด้านงบประมาณ ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงในกรุงเทพมหานครโดยรวมในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) แนวทางการพัฒนาผลการดำเนินงานของสถานประกอบการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงในกรุงเทพมหานคร พบ 3 แนวทาง ได้แก่ 1. การจัดหาแหล่งเงินทุนให้เพียงพอ เพื่อนำมาดำเนินงานในสถานประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. การจัดสรรบุคลากรที่สามารถขึ้นทะเบียนเป็นผู้ให้บริการ อย่างเพียงพอและเหมาะสมในการปฏิบัติงาน 3. การพัฒนาการบริหารเชิงกลยุทธ์ เพื่อเป็นการกำหนดทางและทิศทางในการดำเนินงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2563. (2563,9

มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137.

กฎกระทรวง กำหนดให้กิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง เป็นกิจการอื่นในสถานประกอบการ

เพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2563. (2563, 31 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 137 ตอนที่ 61 ก หน้า 7.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2566). กิจการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง กระทรวงสาธารณสุข. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://esta.hss.moph.go.th/

กรมการปกครอง. (2566). จำนวนประชากรผู้สูงอายุอายุ 60 ปีขึ้นไป แบ่งตามภาคจาก

การทะเบียน พ.ศ. 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2564). บทวิเคราะห์ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุ ประจำเดือน มีนาคม 2564 กระทรวง

พานิชย์. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567. แหล่งที่มา: https://www2.dbd.go.th/

download/document_file/Statisic/2564/T26/T26_032021.pdf

ชยุต รัชตะวรรณ. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานบริบาลดูแลผู้สูงอายุ

เอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารธุรกิจ

สำหรับผู้บริหาร วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

ณัฐภูมิ อาภามงคล และธนภณ ภู่มาลา. (2560). การบริหารจัดการสมรรถนะขององค์การเพื่อบรรลุ

ประสิทธิผลของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน). วารสารศิลปการจัดการ. 1 (1), 21-26.

นริศ เพ็ญโภไคย และนุจรี ภาคาสัตย์. (2561). อิทธิพลของสมรรถนะองค์กร กลยุทธ์ทางธุรกิจ ภาวะผู้นำ และ

การจัดการความรู้ ที่ส่งผลต่อการเติบโตทางธุรกิจและความอยู่รอดขององค์กร ในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร. 11 (2), 15.

บุศรา อรัญญิก. (2564). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการดูแลผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปณรัศม์ วันชาญเวช. (2563). ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค การดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุของเทศบาล

ตำบลบางสีทอง. การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง). สาขาวิชาการเมืองการปกครอง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรศักดิ์ ฤาไกรศรี. (2562). รูปแบบการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลอย่างมีประสิทธิผล เขตสุขภาพที่ 8. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พวงผกา มะเสนา และ ประณต นันทิยะกุล. (2559). การบริหารจัดการการบริการที่มีคุณภาพใน

โรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย. 4 (1), 88-101.

พศิน ชื่นชูจิตต์. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการบ้านพักคนชราในยุค New normal.

สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2558). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยประจำปี 2558. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). รายงานการคาดประมาณประชากร ของ

ประเทศไทย พ.ศ. 2553 - 2583 (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. (2560). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวาริน

ชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสาร มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 9 (3), 57-69.

อมรรักษ์ สวนชูผล. (2561). การจัดการธุรกิจการบริการผู้สูงอายุ. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัม. 13 (1), 152.

Abbass, F. Alkhafaji. (2003). Strategic Management Formulation, Implementation, and Control in a Dynamic Environment. New York: HaworthPress.

Amirkhanyan,A. A., An, S.-H., Hawks, B. A., and Meier, K. J. (2020). Learning on the Job: The Impact of Job Tenure and Management Strategies on Nursing Home Performance. Administration & Society. 52 (4), 593–630.

Best,J. W. and Kahn J. V. (1993). Research In Education. 7 th ed. Boston: Allyn And Bacon.

David,P. Norton and Robert S. Kaplan. (1992). The Strategy-focused Organization: How Balanced Scorecard. Boston: Harvard Business Publishing.

Elena,O. Siegel, Heather,M. Young, Leehu Zysberg, Vanessa Santillan. (2015). Securing and

Managing Nursing Home Resources: Director of Nursing Tactics. The Gerontologist. 55 (5), 748-759.

Krejcie,R. V. and Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-608.

Peter,F. Drucker (1973). Management: Tasks, Responsibilities, Practices. New York: Harper & Row Publication.