รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดระยอง

Main Article Content

ช่อชะบา ชื่นบาน
ธีรังกูร วรบำรุงกุล
สวัสดิ์ชัย ศรีพนมธนากร
เริงวิชญ์ นิลโคตร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง 2) ประเมินรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง และ 3) จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยใช้วิธีการผสมผสาน วิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่จังหวัดระยอง จำนวน 172 คน แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 สถิติคือค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล 21 คน เป็นการสัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และการประชุมเชิงนโยบาย เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา และตรวจด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง สามารถนำเสนอรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง องค์ประกอบ 9 2) ผลการประเมินรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง พบว่า ผลการตรวจสอบโมเดลการวัดองค์ประกอบของรูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง ในภาพรวมองค์ประกอบทั้ง 9 ด้าน โมเดลมีความสอดคล้องกัน และ 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายในการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง  พบว่า 1) กลุ่มผู้ที่กำหนดและขับเคลื่อนนโยบาย คือ ควรให้มีการกำหนดนโยบายที่มีเสถียรภาพ 2) กลุ่มผู้ที่นำนโยบายสู่การปฏิบัติ  คือ ควรให้มีการส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรและออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลพร กัลยาณมิตร. (2565). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติในรูปแบบความปกติใหม่ (New Normal). วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6 (4), 402-422

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2562). การกำหนดให้องค์การปกครองส่วนวนท้องถิ่นมีสิทธิจัด การศึกษาในระดับใดระดับหนึ่งหรือทุกระดับความพร้อม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว

ชยาภร สารีรัตน์. (2562). การบริหารสู่ความเป็นเลิศของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร

ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2565). การบริหารจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 (ครุศาสตร มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.

บัณฑิต ประสิทธิ์นอก. (2562). รูปแบบบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

พุทธิภา เหล็กคงสันเทียะ. (2562). รูปแบบการบริหารสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษา สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

รณชัย คนบุญ และคณะ. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษาพยาบาลในวิถี ความปกติใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล. 35 (1), 1-12.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. (2563). ประกาศองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง เรื่อง การใช้ กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (Rayong Marco) และ คู่มือการใช้กรอบหลักสูตรระดับท้องถิ่น องค็การบริหารส่วนจังหวัดระยอง (Rayong Marco) ระดับการศึกษาปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ประถมศึกษาปีที่ 1- มัธยมศึกษาปีที่ 6) และการศึกษาอาชีวศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ของ สถานศึกษาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง.กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง.

อัจฉรา นิยมาภา. (2564). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาวิถีใหม่สู่คุณภาพการศึกษาที่พึงประสงค์ใน บริบทที่เปลี่ยนแปลง. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 14 (2), 178-195

Bumgart..N. (1987).Equity, Quality and Cost in Higher Education. Bangkok: UNESCO Principal Office of Asia and the Pacific.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.