ต้นทุนประสิทธิผลในการเตรียมคนเข้าทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรม

Main Article Content

อติพร เกิดเรือง

บทคัดย่อ

          วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาต้นทุนประสิทธิผลในการเตรียมคนเข้าทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรม 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการฝึกเตรียมเข้าทำงานจากการมีงานทำของผู้ผ่านการฝึกเตรียมเข้าทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรม 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อผู้ผ่านการฝึกเตรียมเข้าทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรม และ 4) เพื่อเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการเตรียมความพร้อมด้านแรงงาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ผ่านการฝึกเตรียมเข้าทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 217 คน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ต้นทุนประสิทธิผลในการฝึกเตรียมเข้าทำงานในกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 3 กลุ่ม โดยวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการผลิตกับปริมาณผลผลิต พบว่า ช่างซ่อมโทรทัศน์และวิทยุ และช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ สอดคล้องกับต้นทุนเฉลี่ยต่อหัว ส่วนช่างสาขาอื่นนอกจากนี้ไม่สอดคล้อง 2) ประสิทธิภาพด้านต้นทุน พบว่า ประสิทธิภาพด้านต้นทุนของช่างในกลุ่มอุตสาหกรรมทั้ง 3 กลุ่ม มีประสิทธิภาพมากที่สุดทุกกลุ่ม 3) ความพึงพอใจของสถานประกอบการต่อคุณสมบัติส่วนบุคคล พบว่า อยู่ในระดับมาก ด้านความมีมนุษย์สัมพันธ์ดี และการวางตัวเหมาะสม ความพึงพอใจต่อคุณสมบัติเกี่ยวกับการทำงาน พบว่า อยู่ในระดับมาก ได้แก่ การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น และมีการจัดระบบและวางแผน ตามลำดับ และ 4) ข้อเสนอเชิงนโยบาย มี 6 ด้าน ได้แก่ การสร้างระบบฝึกอบรมร่วมกับภาคเอกชน การใช้เทคโนโลยีในการฝึกอบรม การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นและการรับรองทักษะ การสนับสนุนเงินทุนและสิ่งจูงใจ การประเมินผลและปรับปรุงกระบวนการฝึกอบรม และการสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญจน์กนก ลอตระกูล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ประกอบกิจการน้ำมันเชื้อเพลิงต่อการให้บริการของกรมธุรกิจพลังงาน. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 3 (2), 1-23.

จารุวรรณ เขียวน้ำชุม, และ สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2560). รูปแบบแนวคิดทางทฤษฎี และงานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสาเหตุของการเรียนรู้แบบนำตนเอง. วารสาร HR Intelligence. 12 (1), 125-140.

ฉัตรชัย พุ่มชูศักดิ์. (2564). รูปแบบการจัดการศึกษาที่บูรณาการการเรียนรู้กับการทำงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชุติกาญจน์ เพ็ชร์แก้ว และคณะ. (2564). ความต้องการแรงงานและช่องว่างสมรรถนะสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เมืองต้นแบบการค้าชายแดน อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 23 (2), 1-23.

ประณัฐพงศ์ กับกระโทก และ ธเนศ นนท์ศรีราช. (2566). การศึกษาผลการประเมินความคุ้มทุนและความคุ้มค่าโครงการฝึกอบรมหลักสูตรสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคสำหรับเภสัชกร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. กลุ่มพัฒนานวัตกรรมและสารสนเทศ, สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

พงศ์วิทย์ วุฒิวิริยะ. (2561). การศึกษาต้นทุนต่อหัว จุดคุ้มทุนและงบประมาณตามแผนในการผลิตบัณฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

เปรมสิรี สุขปรีเปรม และ ไพโรจน์ พิภพเอกสิทธิ์. (2567). ความต้องการ ความคาดหวัง และความพึงพอใจของสถานประกอบการที่มีต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษาและนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมและการค้า. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7 (2), 1-23.

วรรรพร ชูอำนาจ. (2564). การพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน (Reskill/Upskill/New Skill) เพื่อยกระดับการทำงานและพัฒนาสู่อาชีพใหม่. สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน

สิทธิชัย โพธิ์ทอง, โชติสา ขาวสนิท, วิเชียร ตันสิริคงคล และ สรชัย ศรีนิศานต์สกุล. (2566). ระดับความพึงพอใจของผู้เขารับการฝึกอบรมที่มีต่อสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 3 ชลบุรี. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย. 15 (2), 74-96.

สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2565). สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ 2565. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: http://samutprakan.mol.go.th

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (2566). แผนส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลจังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://www.depa. or.th/storagee/app/media/file/depa-Promotion-Plan-Book61-65. pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ยุทธศาสตร์ชาติกับ SDG. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2566. แหล่งที่มา: https://sdgs.nesdc.go.th. 10 กันยายน 2565.

สุภาณี อินทน์จันทน์. (2558). ความพึงพอใจของผู้บังคับบัญชา/นายจ้าง/ผู้ประกอบการ/ผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2555. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 7, 30-31 มีนาคม 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607-610.

Paquette, G., Marino, O., & Bejaoui, R. (2021). A new competency ontology for learning environments personalization. Smart Learning Environments. 8 (16), 1-23.

Schwab, K. (2019). The Global Competitiveness Report 2019. Geneva, Switzerland: World Economic Forum.