การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างครอบครัวอบอุ่นต้นแบบจังหวัดสกลนคร

Main Article Content

พูลสมบัติ ติงมหาอินทร์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาและวิเคราะห์สถานการณ์ พัฒนารูปแบบและประเมินรูปแบบการเสริมสร้างครอบครัวอบอุ่นต้นแบบ จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 900 คน พ่อหรือแม่หรือผู้ปกครอง จำนวน 900 คน  ซึ่งได้มาจาการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Percentage differences และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) สถานการณ์ความรุนแรงทางสังคมในกลุ่มเด็ก พบส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเด็กมีฐานะยากจน จำนวน 49,487 คน (50.85%) เด็กตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรและไม่พร้อมเลี้ยงดูบุตร 1,075คน (1.55%) และแม่เลี้ยงเดี่ยว จำนวน 1,037 คน (0.45%) 2) รูปแบบการเสริมสร้างสร้างครอบครัวอบอุ่นต้นแบบประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การเตรียมเครือข่ายวิทยากรต้นแบบ (2) การเสวนาครอบครัวและการฝึกปฏิบัติและ (3) การถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 3) หลังการเข้าร่วมกิจกรรมการเสวนาครอบครัวและการฝึกปฏิบัติ พบว่า คะแนนครอบครัวอบอุ่นโดยรวมเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 90.0 ความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมด้านดี ด้านเก่ง ด้านสุข และทั้ง 3 องค์ประกอบมากกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) และหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความเครียดน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยมีคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า 3.28 คะแนน (95%CI; 2.24, 3.32) ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ส่งผลให้มีจำนวนครอบครัวอบอุ่นต้นแบบเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว. (2566). แนวทางขับเคลื่อน"ครอบครัวอบอุ่น กระทรวงการพัฒนา สังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

กรมพัฒนาสังคมและละสวัสดิการ. (2565). รายงานสถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัว. กรุงเทพมหานคร: กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ.

กลุ่มนโยบายและวิชาการ. (2565). รายงานสถานการณ์ทางสังคมจังหวัดสกลนครประจำปี 2565. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสกลนคร.

กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย (UNFPA Thailand). (2559). รายงานสถานการณ์ประชากรไทย พ.ศ. 2558 โฉมหน้าครอบครัวไทย ยุคเกิดน้อย อายุยืน. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2566. แหล่งที่มา: http://thailand.unfpa.org/th/publications/รายงานสถานการณ์ประชากรไทย-พ.ศ.2558-โฉมหน้าครอบครัวไทย-ยุคเกิดน้อย-อายุยืน.

โครงการสุขภาพคนไทย. (2560). เสริมพลังกลุ่มเปราะบาง สร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน. สุขภาพคนไทยนครปฐม: สถาบันวิจัยประขากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

จงจิตต์ ฤทธิรงค์ และ สุภรต์ จรัสสิทธิ์. (2560). สถานเลี้ยงเด็กในบริบทสังคมเมือง: พัฒนาการเพื่อ ความมั่นคงของชาติ. นครปรุม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

ชาย โพธิสิตา และ สุชาดา ทวีสิทธิ์. (2552). ครอบครัวไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล. (2563). การเสริมสร้างความอบอุ่นของครอบครัวลักษณะเฉพาะในพื้นที่เป้าหมาย ครอบครัวอบอุ่น. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. 28 (1), 197-234.

ทิพย์วัลย์ สุรินยา. (2564). โปรแกรมการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันครอบครัวไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 47 (1), 175-192.

ธิดารัตน์ สุภานันท์, กาญจณา พรหมทอง และอรุณี ชุนหบดี. (2564).รูปแบบการส่งเสริมครอบครัวอบอุ่น โดยการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชมชน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านควนล้อน ตำบลนาบินหลา อำเภอเมือง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 4 (2), 190-204.

ปัทมน อดิเรกสาร, พระครูสังฆรักษ์เอกภัทร อภิฉนุโท และประสิทธิ์ แก้วศรี. (2567). รูปแบบการพัฒนา สุขภาวะครอบครัวเชิงพุทธบนพื้นฐานครอบครัวอบอุ่น. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 7 (1), 78-91.

ภูเบศร์ สมุทรจักร, คมลชนก ขำสุวรรณ และ พิมลพรรณ นิตย์นรา. (2562). ครอบครัว "เปราะบาง” เมื่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมทำร้ายครอบครัวไทยและทิ้งใครหลายคนไว้เบื้องหลัง. สถาบันวิจัยประชากรสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2557). วิธีวิจัยทางารศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุภางค์ จันทรานิช. (2546). วิธีการเก็บข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. ในคู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่องานพัฒนา, อุทัย ดุลยเกษม, บก. (พิมพ์ครั้งที่ 4). สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2565). รายงานการสำรสำรวจสภาวะสังคมและวัฒนธรรมของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

องค์การอนามัยโลก. (2565). รายงานสถานการณ์ความรนแรงต่อเด็กทั่วโลก. เจนี้วา: องค์การอนามัยโลก:

เอนกพงศ์ อิทธิจันทร์. (2564). ความสุขของครอบครัว ภายใต้บริบทการอยู่ร่วมกันในสถาปัตยกรรมที่พักอาศัย. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ .

Brown, R., & Peterson, A. (2021). Parental mental health and child development. Child Psychology Review. 62 (4), 456-468.

Carr, A. (2009), The effectiveness of family therapy and systemic interventions for child-focused problems. Journal of Family Therapy. 31 (1), 3-45.

Cowan, P. A., Cowan, C. P., & Heming, G. (2005). Family planning and goal setting: The foundation for positive family outcomes. Family Process. 44 (3), 281-295.

Doherty, W. J. (2017). Family meals and family well-being. Journal of Family Psychology. 31 (5), 577-586.

Gottman, J.M., & Silver, N. (2015). The seven principles for making marriage work. Harmony Books.

Garbarino, J, & Bedard, C. (2001). Parents under siege: Why you are the solution, not theproblem, in your child's life. Free Press.

Hawkins, A. J., & Fowers, B. J. (2013). Assessing family strengths and needs. Family Relations. 62 (4), 578-589.

Hernandez, M., & Green, T. (2019). Community support and family resilience. Community Development Journal. 44 (2), 156-172.

Johnson, P. (2018). The impact of family structure changes on child well-being. Family Relations. 34 (1), 78-89.

Kim, S., & Park, H. (2019). Cultural shifts and family cohesion. Sociology Today. 50 (3), 221-233.

Lee, K., & Roberts, M. (2022). Educational resources and parenting. Early Childhood Education Journal. 55 (1), 89-102.

Reupert, A, Maybery, D., & Kowalenko, N.(2012). Children whose parents have a mental illness: Prevalence, need and treatment. Medical Journal of Australia. 196 (7), 603-604.

Sanders, M. R. (2012). The Triple P-Positive Parenting Program: A public health approach to

parenting support. World Psychiatry. 11 (2), 99.

Smith, J., & Williams, L. (2020). Economic pressures and family dynamics. Journal of Family Studies. 45 (2), 123-135.