การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของ สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และ 3) ตรวจสอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช การวิจัยแบบผสานวิธี ดำเนินการเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ผู้ให้ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้รับผิดชอบงาน 151 คน กำหนดจากตารางของ Taro Yamane และผู้ให้ข้อมูลเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน ระยะที่ 2 พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา และระยะที่ 3 ตรวจสอบระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยใช้การสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 12 คน
ผลการวิจัยพบว่า
สภาพปัจจุบันการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄= 3.28) และความต้องการจำเป็น (PNI) โดยรวมเท่ากับ 0.315
การพัฒนาขั้นตอนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 1) ชื่อระบบ การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนโดยใช้ V3S2R Model 2) เป้าหมายของระบบ คือ เพื่อใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนที่พัฒนาขึ้นยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา และเพื่อให้การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนผ่านกระบวนการทำงานที่ชัดเจน ปรับเปลี่ยนตามสภาพบริบทของนักเรียน และสถานศึกษา 3) ผู้รับผิดชอบระบบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว ครูผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาอื่น ๆ หน่วยงานภายนอก
ผลการตรวจสอบความถูกต้องและความเป็นประโยชน์ของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช ด้านความถูกต้อง ในภาพรวม ค่าเฉลี่ย 4.46 อยู่ในระดับมาก
Article Details
References
กรมสุขภาพจิต. (2546). คู่มือการบริหารระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3-4 (ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
ฉัตร คำแสง, วรดร เลิศรัตน์ และเจณิตตา จันทวงษา. (2565). 7 แนวโน้มเด็กและเยาวชนไทยในวิกฤตเหลื่อมล้ำ โรคระบาดและการเมือง. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566. แหล่งที่มา: https://www.the101. world/7-trends-youth-by-kid-for-kids/.
แดนไพร สีมาคาม. (2564). กลยุทธ์การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิผลสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
นฤมล ทัดสา. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการชั้นเรียนที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนสำหรับโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาตร์ดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (2542). ราชกิจจานุเบกษา.เล่ม 116 ตอนที่ 74ก. หน้า 1-27.
ไพบูลย์ ช่างเรียน และพิชิต พิทักษ์เทพสมบัติ. (2544). องค์การในอนาคต. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.
วิสุทธิ์ เที่ยงตรง. (2552). แนวทางการพัฒนาระบบเยี่ยมญาติของผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วีรวัฒน์ การุณวงษ์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). การวางแผนกลยุทธ์การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์การศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หลักการ แนวคิด และทิศทางในการดำเนินงาน. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2547). แนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและแก้วิกฤตสังคม. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2559). คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียน“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ปีการศึกษา 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อรัญญา ชนะเพีย. (2558). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อัมพร เบญจพลพิทักษ์. (2565). โควิด-19 กระทบสุขภาพจิตเยาวชน พบปัญหาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว กรมสุขภาพจิตเร่งขยายผลการสร้างเครือข่ายสถานศึกษาร่วมดูแลจิตใจนักเรียนนักศึกษา เพื่อฟื้นฟูเด็กไทย ก้าวสู่คนไทยคุณภาพ. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2566. แหล่งที่มา: https://thainews.prd.go.th/th/ news/print_news/TCATG220525144239190.
Bigs, C. L. Birks, E. G. and Atkins, w. (1980). Managing the systems development process. Engle wood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Black, P. J., & William, D. (2009). Assessment for Learning: Putting into practice. Berkshire England: Open University press.
Brocklebank, R. R. (2004). Factors affecting implementation of a performance-based model in high school mathematics: Ateacher change study. Washington State University.
Smith, William A. (1980). System concept,total. Encyclopedia of Professional Management, 1: 1130-1132.
Flood, P. S. (2002). Factor affecting implementation probability of state-mandated reform initiative: A study of (6th-8th grade Maine teachers). France: The University of Maine.