ความพร้อมในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดในประเทศไทย

Main Article Content

ชัยวุฒิ เทโพธิ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของประชาชนและส่วนราชการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ เชิงยืนยันของการจัดองค์กรตามแนวคิดกลยุทธ์ของแมคคินซีย์ ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และ 3) เพื่อศึกษาอิทธิพลที่ส่งผลต่อความพร้อมในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดของประชาชนและส่วนราชการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิชาการ ในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โมเดลสมการโครงสร้าง  ผลการศึกษา พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาได้จากค่า X2/df =1.727, p-value = 0.171, GFI = 0.966, RMSEA =0.038, SRMR = 0.013, CFI = 0.998 และ X2/df =1.789, p-value = 0.5920, GFI = 0.985, RMSEA =0.024, SRMR = 0.015, CFI = 0.998 ซึ่งพบว่าทั้งค่าสถิติไค-สแควร์ และดัชนีวัดระดับความสอดคล้องความกลมกลืนมีค่าเป็นไปตามเกณฑ์ทุกค่า ดังนั้น แสดงให้เห็นว่าปัจจัยด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม ของประชาชนและส่วนราชการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด และ  การจัดองค์กรตามแนวคิดกลยุทธ์ของแมคคินซีย์นั้นมีความถูกต้องเหมาะสมดีแล้วกับการนำมาใช้จริงในทางปฏิบัติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง. (2550). พัฒนาการการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงมหาดไทย

ชัชพิสิฐ เกตุหอม. (2558). ความคิดเห็นของประชาชนต่อการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธนกาญจน์ อ่วมจินดา และคณะ. (2565). ความเป็นไปได้ในการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดภายใต้การบริหารราชการไทย. วารสารการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. 2 (2), 100-115.

พินิจ บุญเลิศ. (2558). บทบาทของผู้ว่าราชการจังหวัดไทยในการบริหารการเปลี่ยนแปลง. วารสารเวอริเดียล มหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ. 8 (1), 1287-1309.

วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น. (2552). เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทางตรง: แนวทางการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สถาบันคอนราด อาเดนาวร์. (2566). แนวทางการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดที่เหมาะสมในประเทศไทยยุคเปลี่ยนผ่าน. งานสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยการกระจายอานาจและการปกครองท้องถิ่น เมื่อ 15 สิงหาคม 2566.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง. (2566). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2566. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการเลือกตั้ง.

อุไรวรรณ สุขอนันต์. (2563). การนำของผู้ว่าราชการจังหวัดในการบริหารจังหวัดเชิงพื้นที่. ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.) (รัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรังสิต.

Herbert C. Kelman. (1967). Attitude Change in Compliance, Identification and Internalization: Three Process of Attitude Change. John Wiley and Sons Inc, New York.

Robert Waterman, Tom Peter and Julien Phillips. (1980). In search of Excellence. United. State, Industrial management.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York: Harper. & Row.

O’Dwyer, V., et al. (2012). Timing of screening for gestational diabetes mellitus in women with moderate and severe obesity. Acta Obstetriciaet Gynecologica Scandinavica. 91 (4), 447-451.